วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

กลยุทธ์ทางการตลาด(8 P's Strategy) เพื่อการทำการตลาดระหว่างประเทศของ Fuji และ MK

การวางแผนกลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่
                                                                              
       กลยุทธ์ทางการตลาดสมัยใหม่ซึ่งเป็นส่วนผสมทางการตลาด(Marketing Mix)หรือที่เรียกสั้นๆว่า 8P’s ซึ่งต้องมีแนวทางความคิดทางการสื่อสารการตลาด(IMC)โดยอาศัยเครื่องมือการ ติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคแบบสมัยใหม่ซึ่งแบ่งส่วนขยายเพิ่มเติมจากเดิมอีก หลายส่วนทั้งงานศึกษาทั้งภายในและภายนอกประเทศเชื่อมโยงสู่การทำธุรกิจสมัย ใหม่ซึ่งเน้นการสร้างผลกำไรสูงสุดบนความพอใจของผู้บริโภคซึ่งเป็นการทำ ธุรกิจระยะยาว(Long-Term Business) พร้อมกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคสมัยใหม่ซึ่งเปลี่ยนไปอย่างมากโดย เฉพาะการแบ่งส่วนการตลาด(Segmentation)ซึ่งไม่สามารถแบ่งส่วนการตลาดแบบ เดิมๆได้แล้ว ซึ่งการเอกสารการศึกษาในส่วนแรกเป็นแนวทางทำธุรกิจและก่อให้เกิดพฤตกรรมใน การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  ส่วนที่เอกสารอื่นๆจะช่วยในการวางแผนการตลาด ในธุรกิจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับการศึกษาใน ครั้งนี้
                          1.แนวคิดทางการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดโดยใช้ 8P’s
       ซึ่งประกอบไปด้วยสว่นผสมทางการตลาด ดังนี้
                                   1.1 กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์  ( Product  Strategy )
                                   1.2กลยุทธ์ราคา ( Price  Strategy )
                                   1.3กลยุทธ์การจัดจำหน่าย  ( Place  Strategy )
                                   1.4กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด ( Promotion  Strategy )
                                   1.5กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์  ( Packaging  Strategy )
                                   1.6กลยุทธ์การใช้พนักงานขาย ( Personal  Strategy )
                                   1.7กลยุทธ์การให้ข่าวสาร  ( Public  Relation Strategy )
                                   1.8กลยุทธ์ พลัง   ( Power  Strategy )
       ซึ่งสามารถอธิบายเพื่อให้เข้าใจง่ายๆดังนี้

         กลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์  (Product  Strategy)กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์นั้น จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจ เกี่ยวกับ
             1. คุณสมบัติผลิตภัณฑ์  ( Product  attribute ) 
             2.  ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ ( Product  mix )
             3. สายผลิตภัณฑ์ ( Product  lines )
สิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
             1. แนวความคิดด้านผลิตภัณฑ์  ( Product  Concept ) 
เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค Product ได้ ต้องมีความชัดเจนในตัวผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
             2. คุณสมบัติผลิตภัณฑ์  ( Product  attribute ) จะต้องทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นผลิตมาจากอะไร
มีคุณสมบัติอย่างไร ลักษณะทางกายภาพ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ขนาด ความดี ความงาม ความคงทนทานด้านรูปร่าง รูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตัวของมันเอง
             3.ลักษณะเด่นของสินค้า  ( Product  Feature  ) การนำสินค้าของบริษัทไปเปรียบเทียบกับสินค้าของคู่แข่งขันแล้วมีคุณสมบัติ แตกต่างกัน และจะต้องรู้ว่าสินค้าเรามีอะไรเด่นกว่า เช่น ลักษณะเด่นของ Dior คือเป็นผลิตภัณฑ์ชันนำจากปารีส
             4.ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์  ( Product  Benefit )   พิจารณาว่าสินค้ามีลักษณะเด่นอย่างไรบ้าง
และสินค้าให้ประโยชน์อะไรกับลูกค้าบ้าง  ระหว่างการให้สัญญากับลูกค้า กับการพิสูจน์ด้วยลักษณะเด่นของสินค้า
                 ตัวอย่างกลยุทธ์
                 : ขยายวิธีการใช้ใหม่ๆ ของผลิตภัณฑ์เรา เพื่อกลุ่มเป้าหมายใหม่ คือ กลุ่มผู้ใหญ่ที่ อายุตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไป
                 : ละทิ้งผลิตภัณฑ์ซึ่งบังไม่สามารถทำกำไรนับตั้งแต่เมื่นำผลิตภัณฑ์นั้นๆ สู่ตลาดแล้วเป็นเวลา 5 ปี

            กลยุทธ์ราคา ( Price  Strategy )
เป็นการกำหนดว่าเราจะตั้งราคาแบบใด กลยุทธ์ราคาสูงหรือราคาต่ำ สิ่งที่จะต้องตระหนักคือ
ราคาทีได้กำหนดไว้นั้นเหมาะสมในการแข่งขัน หรือสอดคล้องกับตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้านั้นหรือไม่กลยุทธ์ด้านราคา ( Price strategy )
 ในการกำหนดกลยุทธ์ด้านราคามีประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณาดังนี้
              1.ตั้งราคาตามตลาด ( On going price ) หรือตั้งราคาตามความพอใจ ( Leading price )
                     1.1 ตั้งราคาตามตามตลาด (On going price) เหมาะสำหรับสินค้าที่สร้างความแตกต่างได้ยากจึงไม่สามารถจะตั้งราคาให้แตก ต่างจากตลาดคู่แข่งขันได้ นั่นคือ การตั้งราคาตามคู่แข่งขัน
                     1.2 ตั้งราคาตามความพอใจ  ( Leading price )  เป็นการตั้งราคาตามความพอใจ โดยไม่คำนึงถึงคู่แข่งขัน เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างในตราสินค้า สินค้าที่มีเอกลักษณ์ส่วนตัวมีภาพพจน์ที่ดี จะตั้งราคาเท่าไรก็ไม่มีใครเปรียบเทียบ
              2. สินค้าจะออกเป็นแบบราคาสูง ( Premium price )  เมื่อแน่ใจในคุณภาพที่เหนือกว่าและการยอมรับในราคาของลูกค้าหรือราคามาตรฐาน ( Standard ) เมื่อใช้การตั้งราคาโดยพิจารณาจากราคาของคู่แข่งขัน หรือตราสินค้าเพื่อการแข่งขัน ( Fighting brand )  เป็นสินค้าด้อยคุณภาพกว่าคู่แข่งขันเล็กน้อย จะลงตลาดล่าง
              3. การตั้งราคาเท่ากันหมด  ( One pricing ) คือสินค้าหลายอย่างที่มีราคาติดอยู่บนกล่อง หมายถึง ไม่ว่าจะขายอยู่ที่ใดฤดูหนาวหรือฤดูร้อนราคาก็เท่ากันหมด  หรือราคาแตกต่างกัน ( Discriminate price ) ข้อดี คือสามารถเรียกราคาได้หลายราคา แต่ข้อเสียก็คือ เราต้องหาเหตุผลในการตั้งราคาหลายอย่าง เพื่อให้คนยอมรับได้
              4. การขยายสายผลิตภัณฑ์ ( Line extension ) ในกรณีนี้การนำเสนอสินค้าเริ่มต้นด้วยราคาหนึ่ง แล้วมีกลยุทธ์เผยแพร่ความนิยมไปยังตลาดบน หรือตลาดล่าง
              5.  การขยับซื้อสูงขึ้น ( Trading up ) เป็นการปรับราคาสูงขึ้นทำให้ได้กำไรมากขึ้น จึงพยายามขายให้ปริมาณมากขึ้นหรือการขยับซื้อต่ำลง ( Trading down ) เป็นการผลิตสินค้าที่มีราคาแพงให้มีคุณภาพกว่าสินค้าที่ราคาถูกเล็กน้อยแต่ ตั้งราคาสูงกว่า เพื่อให้คนซื้อสิ้นที่รองลงมา
              6. การใช้กลยุทธ์ด้านขนาด ( Size ) คือไม่ทำขนาดเท่ากับผู้ผลิตรายอื่น ๆ
                  ตัวอย่าง กลยุทธ์ 
                  : ตั้งราคาสูงกว่าคู่แข่งร้อยละ 30 เพื่อแสดงภาพลักษณ์ของตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้าที่อยู่ในระดับสูง
                  : ตั้งราคาต่ำสำหรับช่วงฤดูกาลที่ยอดขายน้อย และตั้งราคาต่ำกว่าผู้นำเล็กน้อยในช่วงฤดูกาลที่ยอดขายดี
             กลยุทธ์ช่องทางการจัด จำหน่าย( Place Strategy )
วิธีการจัดจำหน่าย จะต้องพิจารณาถึง
              1. ช่องทางการจัดจำหน่าย ( Channel of distribution ) 
เป็นเส้นทางที่สินค้าเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตหรือผู้ขายไปยังผู้บริโภคหรือผู้ ใช้ ซึ่งอาจจะผ่านคนกลางหรือไม่ฝ่ายคนกลางก็ได้

              2. ประเภทของร้านค้า ( Outlets ) ในทุกวันนี้จะพบได้ว่าวิวัฒนาการของการจัดจำหน่ายนั้นเป็นสิ่งที่เจริญเติบ โตรวดเร็วมากประเภทของร้านค้ามีมากมาย จนแทบจะตามไม่ทัน จะขอเรียงลำดับประเภทของร้านค้าจากใหญ่ไปหาเล็ก
               (1) ร้านค้าส่ง  ( Wholesale store ) เป็นร้านค้าที่ขายสินค้าในปริมาณมาก ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนกลาง 
               (2)  ร้านค้าขายของถูก( Discount store )  เป็นร้านค้าที่ขายสินค้าราคาพิเศษ 
               (3)  ร้านห้างสรรพสินค้า( Department store )                             
                         (4)  ซูเปอร์มาร์เก็ตที่อยู่เดี่ยว ๆ (Stand alone supermarket)เป็นร้านที่มีทำเลเดี่ยวไม่ติดกับร้านค้าใดๆ 
               (5) ช้อปปิ้งชุมชน ( Community mall ) เป็นร้านค้าที่อยู่ในย่านชุมชน
               (6) Minimart  จะเห็นได้จากร้านค้าเล็กๆ ตามตึกอาคารสูงๆ ในโรงพยาบาล ซึ่งตั้งฮั่วเส็งเริ่มบุกตลาด Minimart  พอสมควร 
               (7)  ร้านค้าสะดวกซื้อ ( Convenience store ) เป็นร้านค้าที่ขายสินค้าอุปโภคบริโภค หรือสินค้าสะดวกซื้อ บางร้านจะเปิดบริการ 24 ชั่วโมง
               (8) ร้านค้าในปั๊มน้ำมัน 
               (9) ซุ้มขายของ ( Kiosk )  เป็นร้านที่จัดเป็นซุ้มขายของ บางครั้งจัดเป็นบูท
              (10) เครื่องขายอัตโนมัติ ( Vending machine ) เป็นการขายสินค้าผ่านเครื่องจักรอัตโนมัติ
              (11) การขายทางไปษณีย์ ( Mail order )  เป็นการขายสินค้าซึ่งใช้จดหมายส่งไปยังลูกค้า มีการลงในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ถ้าพอใจก็ส่งข้อความสั่งซื้อทางไปรษณีย์
              (12) ขายโดยแคตตาล็อก ( Catalog sales )
              (13) ขายทางโทรทัศน์ ( T.V. Sales )
              (14) ขายตรง ( Direct sales ) การขายโดยใช้พนักงานขายออกเสนอขายตามบ้าน
              (15) ร้านค้าสวัสดิการ เป็นร้านค้าที่ตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกกับพนักงานตามหน่วยงานราชการ ต่างๆ ของบริษัท หรือสำนักงานต่างๆ
              (16) ร้านค้าสหกรณ์ เป็นร้านค้าที่ตั้งอยู่ตามมหาวิทยาลัย และโรงเรียนต่างๆ

           3. จำนวนคนกลางในช่องทาง ( Number of intermediaries ) หรือความหนาแน่นของคนกลา
ในช่องทางการจัดจำหน่าย ( Intensity of distribution ) ในการพิจารณาเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายจะมีกระบวนการ 3 ขั้นตอน
ดัง นี้
               (1) การพิจารณาเลือกลูกค้ากลุ่มเป้าหมายว่าเป็นใคร
               (2)พฤติกรรมในการซื้อของกลุ่มเป้าหมาย เช่น ซื้อเงินสดหรือเครดิต ต้องจัดส่งหรือไม่ ซื้อบ่อยเพียงใด 
               (3) การพิจารณาที่ตั้งของลูกค้าตามสภาพภูมิศาสตร์

           4. การสนับสนุนการกระจายตัวสินค้าเข้าสู่ตลาด ( Market logistics ) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต และตัวสินค้าจากแหล่งปัจจัยการผลิตผ่านโรงงานของผู้ผลิต แล้วกระจายไปยังผู้บริโภค

                    กลยุทธ์ การส่งเสริมการตลาด(Promotion Strategy )
              กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดจะต้อง ประสานกับแผนการตลาดโดยรวมและควรกำหนดแผนการส่งเสริมการตลาดที่เฉพาะเจาะจง
              ตัวอย่างกลยุทธ์
                   : ใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดกับคู่ค้า เพื่อให้คู่ค้าสนับสนุนตราสินค้าของเรา
                   : ใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดให้เกิดผลสูงสุดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้า ของเราในช่วงที่ยอดขายตกต่ำของปี
                              (ค้น หาเพิ่มเติมในบทความหน้าอื่น)
                    กลยุทธ์ การบรรจุภัณฑ์  (Packaging Strategy )
            การตัดสินใจเลือกรูปแบบการบรรจุภัณฑ์และประเภทวัสดุของบรรจุภัณฑ์มักจะใช้ กับสินค้าอุปโภคบริโภคที่พัฒนาใหม่ หรือเมื่อมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสินค้าใหม่ กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์ มีหลักในการพิจารณาดังนี้
              1. บรรจุภัณฑ์นั้นเหมาะสมที่จะบรรจุสินค้า ( Put  in ) หรือไม่
              2. สินค้าเมื่อวางบนชั้นแล้วได้เปรียบ (เด่น ) ( Put up ) หรือไม่
              3. สินค้าเมื่อนำเอามาใช้แล้วเก็บสะดวก ( Put away ) หรือไม่
              4. บรรจุภัณฑ์สวยงาม ( Prettiness ) หรือไม่
              5. สามารถเชิญชวนให้ใช้ ( Pleading ) ได้หรือไม่
              6. บรรจุภัณฑ์สามารถสะท้อนตำแหน่งครองใจของสินค้า ( Positioning ) ได้หรือไม่
              7. บรรจุภัณฑ์สามารถสะท้อนบุคลิกภาพของสินค้า ( Personality ) ได้หรือไม่
              8. บรรจุภัณฑ์สามารถปกป้องสินค้า ( Protection ) ได้หรือไม่
              9. บรรจุภัณฑ์มีความสะดวกต่อการใช้งาน ( Practicality ) หรือไม่
            10. บรรจุภัณฑ์ที่เลือกนั้นสามารถทำกำไรได้มากขึ้น ( Profitability ) ได้หรือไม่
            11. บรรจุภัณฑ์นั้นสามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมการตลาด ( Promotion ) ได้หรือไม่
            12. เป็นการบอกถึงวิธีการใช้สินค้า ( Preaching ) ได้หรือไม่
            13. สามารถดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ( Preservation ) ได้หรือไม่

                    ถ้านำสิ่งเหล่านี้มาพิจารณาทั้งหมดจะเห็นไว่าในการออก แบบบรรจุภัณฑ์ของบริษัทจะเป็นโลโก้ ตัวหนังสือ ตัวอักษร การเลือกเป็นกระดาษ เป็นโฟม เป็นฝาจุก หรือเครื่องหมาย สีสันต่างๆ บริษัทก็จะได้บรรจุภัณฑ์ที่ดี
                     ตัวอย่าง กลยุทธ์   
                                เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่ด้วยสีสันที่สดใสเพื่อให้ผู้บริโภคเห็นอย่าง ชัดเจน ณ จุดขาย

                          กลยุทธ์ การใช้พนักงานขาย (Personal  Strategy)
           การขายโดยใช้พนักงานขายจัดเป็นรูปแบบการปฏิบัติ ตัวต่อตัวระหว่างกิจการกับลูกค้า ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังคำสั่งซื้อด้วยรูปแบบการขายที่แตกต่างกัน    การขายโดยพนักงานขายนั้นเกี่ยวข้องกับการจ้างพนักงานขาย การจัดการทั่วๆ ไปเกี่ยวกับพนักงานขาย ตลอดจนการบริหารสินค้าคงคลัง     การเตรียมการเสนอขายและการบริการหลังการขาย ในการพัฒนาแผนกการขายนั้น กิจการจะเริ่มตั้งแต่การตั้งวัตถุประสงค์และปฏิบัติการ ซึ่งต้องมีความชัดเจนและสอดคล้องกับประเภทของธุรกิจ โดยอาจเป็นธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจการบริการ หรือธุรกิจการผลิต จากนั้นจึงกำหนดกลยุทธ์การขายและการดำเนินงาน การขายโดยใช้พนักงานขายนั้นหวังผลลัพธ์เพื่อเพิ่มยอดขายและขณะเดียวกันก็ เพื่อสร้างสัมพันธ์ภาพระยะยาวกับลูกค้าอีกด้วย  
          นอกจากนี้การขายโดยใช้ พนักงานขายนั้น ยังมีการใช้โบว์ชัวร์ เอกสาร ใบปลิว วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยในการนำเสนอขายของพนักงาน  ตลอดจนเป็นหลักฐานอ้างอิงและสามารถมอบไว้ให้ลูกค้าเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่ม เติม
                    ตัวอย่าง กลยุทธ์ 
                             : กำหนดตัวเลขอัตราส่วนการขาย เช่น จำนวนลูกค้าที่คาดหวัง ( Prospect ) เมื่อเทียบกับจำนวนที่กลายเป็นลูกค้าที่ซื้อสินค้าของเราในที่สุดหรือจำนวน ลูกค้าที่ซ่อสินค้าเมื่อเทียบกับลูกค้าที่เข้ามาในห้าง ทั้งนี้เพื่อการตรวจสอบถึงประสิทธิภาพของพนักงานขาย
                  : คิดค้นโปรแกรมการให้ผลตอบแทนการขาย ( Incentive Program ) ใหม่ๆ เพื่อเป็นรางวัลแก่พนักงานขายที่ทำยอดขายตามเป้า

                         กลยุทธ์ การให้ข่าวสาร( Public Relation Strategy)
                  การให้ข่าวสารนั้น คือ รูปแบบหนึ่งของการติดต่อสื่อสารที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสื่อ ทั้งนี้เพื่อสร้างทัศนคติที่เป้นบวกต่อสินค้าและกิจการของเรา แต่ปัจจุบันการสื่อสารโดยวิธีดังกล่าวอาจมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งค่าใช้จ่ายทางอ้อมเกี่ยวกับสื่ออีกด้วย การให้ข่าวสารแก่สาธารณะชนนั้นเป็นรูปแบบหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ การให้ข่าวสารจัดว่าเป็นการสร้างภาพลักษณ์ในระยะยาวแก่องค์กร และต้องการให้ผลลัพธ์นี้ออกมาในเชิงบวกแก่องค์กร
                  สิ่งที่เราต้องพิจารณาอย่างยิ่งในการให้ข่าวสารคือ กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้รับข่าวสารและสื่อโฆษณาที่จะใช้เพื่อการสื่อข่าว สาร
                        ตัวอย่างกลยุทธ์   
                                                    : การร่วมมือกับสื่อบางสื่อ เพื่อจัดเทศกาลในโอกาสพิเศษ
                               : กำหนดโปรแกรมการเปิดตัวการบริการรูปแบบใหม่ของธุรกิจเรา

 เรียบเรียงโดย ไซมอน โชติอนันต์ พลตื้อ

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ข้อมูลเศรษฐกิจจีน


ภาพรวม
ประเทศจีนมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว มีพลวัตรสูง และเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ (economic powerhouse) ของภูมิภาคและของโลกด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี และการพัฒนาประเทศแบบก้าวกระโดดกำลังเป็นที่จับตามองของทุกฝ่ายว่าการเติบโตนี้จะมุ่งไปในทิศทางใด
ปัจจุบันถนนทุกสายวิ่งสู่ประเทศจีนซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองลงมาจาก สหรัฐฯ และญี่ปุ่น และมีเงินทุนสำรองที่มากที่สุดในโลกโดยความสำเร็จนี้นำมาซึ่งความห่วงกังวลและโอกาส โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน
เขตเศรษฐกิจที่สำคัญของจีนมี ดังนี้
  1. เขตลุ่มแม่น้ำเพิร์ล (Pearl River Delta) ประกอบด้วย 9 เมือง ได้แก่ นครกวางโจว เสิ่นเจิ้น จูไห่ ตงก่วน ฝอซาน (รวมหนานไห่และซุนเต๋อ) จงซาน เจียงเหมิน หุ้ยโจว (ยกเว้น Longmen County) และจ้าวฉิ้ง (เขตเมืองจ้าวฉิ้ง Gaoyao และ Sihui)
  2. เขตปากน้ำแยงซี (Yangtze River Delta) รวม 16 เมือง ได้แก่ นครเซี่ยงไฮ้ 8 เมืองในมณฑลเจียงซู และ 7 เมืองในมณฑลเจ้อเจียง
  3. เขตเศรษฐกิจป๋อไห่ (Bohai Economic Zone) ประกอบด้วยกรุงปักกิ่ง มหานครเทียนจิน และเมืองในมณฑลเหอเป่ยและชานตง1
  4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คลอบคลุมมณฑลเหลียวหนิง จี๋หลิน และเฮยหลงเจียง ซึ่งในอดีตเป็นเขตอุตสาหกรรมหนักที่สำคัญของประเทศ แต่ได้รับผลกระทบหลังจากที่รัฐบาลจีนได้เริ่มดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบระบบตลาด (market economy) ส่งผลให้เขตนี้มีความล้าหลังกว่า 3 เขต ข้างต้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่จะฟื้นฟูเขตดังกล่าวให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมหนักของประเทศ เป็น new powerhouse ของประเทศเช่นเดียวกับเขตเศรษฐกิจ 3 เขตข้างต้น โดยได้กำหนดให้เหลียวหนิงเป็นศูนย์การผลิตอุปกรณ์และวัตถุดิบระดับโลก
1.1 ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจจีน (ปี 2551)
simbon GDP30.0670 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (+9% จากปี 2550)
simbon การค้ากับต่างประเทศ
     การส่งออก
     การนำเข้า
     ดุลการค้า
2.5616 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (+17.8% จากปี 2550)
1.4285 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (+17.2%จากปี 2550)
1.1331 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (+20.8% จากปี 2550)
+295.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
simbon เงินทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ1.95 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
simbon การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ92.395 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
simbon การลงทุนของจีนในต่างประเทศ55.91 พันล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
simbon อัตราเงินเฟ้อ7.8%



ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจไทย-จีน


2.1 ด้านการค้า

การค้าระหว่างไทยกับจีนได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปี 2551
การค้าทวิภาคีมีมูลค่า 41,261,646,573 ดอลลาร์สหรัฐ โดยแยกเป็นจีนส่งออกมาไทยมูลค่า 15,605,074,417 ดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าจากไทยมูลค่า 25,656,572,156 ดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับจีน 10,051,497,739 ดอลลาร์สหรัฐ จีนเป็นตลาดส่งออกสินค้าสำคัญเกือบทุกชนิดของไทย โดยเฉพาะสินค้าเกษตร และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นต่อไป โดยเฉพาะสินค้าประเภทวัตถุดิบ พลังงาน เคมีภัณฑ์ และสินค้าเกษตร

2.2 การลงทุน

การลงทุนระหว่างไทยกับจีนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
แม้การลงทุนของจีนในไทยจะยังไม่มากนัก และกระจายตัวตามมณฑลต่างๆ โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนระยะสั้น และมีขนาดกลาง

ในปี 2551 การลงทุนของไทยในจีนมีมูลค่า 129 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วยอุตสาหกรรมการเกษตร ป่าไม้ อสังหาริมทรัพย์ ธนาคาร เป็นต้น ส่วนการลงทุนของจีนในไทยมีมูลค่า 43.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

รัฐบาลจีนมีนโยบายส่งเสริมให้นักธุรกิจจีนไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น2 โดยอาเซียนเป็นกลุ่มประเทศเป้าหมายที่นักลงทุนจีนให้ความสนใจเป็นอันดับแรกอันเนื่องจากความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์และความคล้ายคลึงของขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมระหว่างกัน ซึ่งไทยมีความได้เปรียบและจุดเด่นในด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในอันที่จะทำหน้าที่เป็นประตูสำหรับจีนไปสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค

2.3 การท่องเที่ยว

คนจีนมีรายได้สูงขึ้น และรัฐบาลจีนเริ่มที่จะอนุญาตให้คนจีนเดินทางไปต่างประเทศมากขึ้น โดยประเทศไทยมีที่ตั้งที่เหมาะสมในการรองรับการหลั่งไหลของคนจีนที่จะไปท่องเที่ยวต่างประเทศ

ตลาดนักท่องเที่ยวจีนเป็นตลาดที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเป็นตลาดนักท่องเที่ยวหลักของไทย โดยจนถึงปี 2550 มีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางไปประเทศไทยประมาณ 1,003,141 คน โดยไทยเป็นประเทศ/พื้นที่ที่ชาวจีนเดินทางไปท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับที่ 4 รองจากฮ่องกง มาเก๊า และญี่ปุ่น

ไทยกับจีนมีความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ และเชื้อชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม ประชาชนของทั้งสองประเทศมีความเข้าใจพื้นฐานที่ดีระหว่างกัน ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวไทยมีความสะดวดสบายสำหรับนักท่องเที่ยวจีน



การดำเนินงานเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน

ในปี 2553 เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนจะมีผลบังคับใช้ซึ่งจะเกิดการหลั่งไหลและเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลต่อด้านการค้า การลงทุน การเดินทาง การคมนาคมต่าง ๆ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน กับไทยด้วยการอย่างของสินค้าจากจีนสู่ไทยและต่อไปยังภูมิภาคอาเซียน

ปัจจุบันจีนได้สร้างเส้นทางเชื่อมโยงไทย และตอนใต้ของจีนโดยการคมนาคมประกอบด้วย

  1. การเดินทางทางบกด้วยเส้นทาง R3A ระหว่างเชียงของ-ห้วยทราย-หลวงน้ำทา-บ่อหาร-จิ่งหง-ซือเหมา-คุนหมิง (รวม 1,104 กม.) เส้นทาง R3B ระหว่างแม่สาย-เชียงตุง-เมืองลา-จิ่งหง-ซือเหมา-คุนหมิง (รวม 1,053 กม.) และเส้นทาง R9 ที่ขนส่งผ่านทางบกตลอดเส้นทาง ลำเลียงผลไม้จากประเทศไทย (จังหวัดมุกดาหาร) – ผ่านประเทศลาว (สะหวันนะเขต-แดนสะหวัน) – ประเทศเวียดนาม (ลาวบ๋าว-ฮาติน-เถื่อนฮว่า-ฮานอย-หลั่งเซิน) เข้าสู่ด่านโหย่วอี้กวน (ผิงเสียง) เขตปกครองตนเองกวางสี ประเทศจีน และขนส่งถึงตลาดซินฟาตี้ กรุงปักกิ่ง (รวม 2,031 กม.)
  2. การเดินทางทางน้ำ ระหว่างจิ่งหง-กวนเหล่ย-เชียงแสน (รวม 344 กม.)
  3. การเดินทางทางอากาศ ระหว่างกรุงเทพฯ-คุนหมิงและกรุงเทพฯ-จิ่งหง
  4. การเดินทางทางรถไฟ
ไทยสามารถใช้ข้อได้เปรียบด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในปี 2553 เช่น การส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางด้านคมนาคม การเป็นแหล่งป้อนพลังงานให้กับจีน เช่น ท่อส่งน้ำมัน วัตถุเชื้อเพลิง การเป็นศูนย์กลางด้าน logistic และการบริการ เป็นต้น

เขตเศรษฐกิจทั้ง 3 เขตข้างต้นเป็น powerhouse ของการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจจีน โดยเป็นแหล่งรวมตัวกันของนักลงทุนต่างชาติ มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่สูง และรวดเร็วกว่าเขตอื่นของประเทศหลายเท่าตัว จึงทำให้ความเจริญทางเศรษฐกิจของจีนกระจุกตัวในเขตดังกล่าว หรือบริเวณใกล้เคียง

บริษัทจีนที่มีศักยภาพที่จะออกไปลงทุนในต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจ (State Owned Enterprises: SOEs)

http://www.thaiembbeij.org/thaibizchina/th/china-info/economy/

 
ภาพรวมทางการค้า

นับ แต่จีนเริ่มใช้นโยบายเปิดประเทศเมื่อปี 2521 มูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นตามลำดับอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จากมูลค่าการค้ากับต่างประเทศเพียง 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2523  ได้ขยายตัวเป็น 20,343.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2548 การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในแง่มูลค่าการค้าเท่านั้น  แต่รวมถึงองค์ประกอบของสินค้าออกและสินค้านำเข้าด้วย กล่าวคือ ก่อนปี 2522 สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ของจีนเป็นสินค้าขั้นปฐม (primary product) ซึ่งได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติและผลผลิตการเกษตร เมื่อระยะเวลาผ่านไป สัดส่วนของสินค้าอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้นมากขึ้นตามลำดับ โดยในปี 2543 เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 89.8 ของสินค้าส่งออกทั้งหมด   
 สถิติการค้าจากศุลกากรจีน (ปี 2550)  
การ ค้ากับต่างประเทศในปี 2550 มีมูลค่า 2,173.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในจำนวนนี้ เป็นมูลค่าการส่งออก 1,218.01 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 จากปี 2549 และมูลค่าการนำเข้า 955.82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 จากปี 2549

สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร เครื่องใช้ไฟฟ้า
เครื่องนุ่งห่ม

สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า น้ำมัน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ประเทศ/เขตเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน เยอรมันนี
รัสเซีย  EU อาเซียน (ไทยเป็นอันดับที่ 14)

ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ฮ่องกง ญี่ปุ่น  เกาหลีใต้  เยอรมันนี ตามลำดับ

ตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สหรัฐฯ เยอรมันนี ตามลำดับ

ตลาดสำคัญที่จีนได้ดุลการค้า คือ สหรัฐฯ  ฮ่องกง เยอรมันนี สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร อินเดีย ฝรั่งเศส

ตลาดสำคัญที่จีนขาดดุลการค้า คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน รัสเซีย มาเลเซีย ออสเตรเลีย ไทย 
 
 
 

เก๋ากี้ ขุมทรัพย์สีทับทิมแห่งเขตหนิงเซี่ย


เก๋ากี้ ผลไม้แห้งเมล็ดเล็กเรียว สีส้ม แดงสด ที่ชาวไทยรู้จักกันดีในฐานะหนึ่งในพืชสมุนไพรจีนที่เป็นส่วนผสมอาหารคาวหวานหลากชนิดด้วยชื่อเสียงด้านคุณค่าทางสารอาหารที่เลื่องลือ ในวันนี้ ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ นครซีอานจะขอนำทุกท่านเดินทางไปยังเขตปกครองตนเองชนชาติหุยหนิงเซี่ย ดินแดนที่ได้ชื่อว่าเป็น “แหล่งผลิตเก๋ากี้ที่ดีที่สุดในโลก”






เมล็ดเก๋ากี้ , Wolfberry, Red Medlar, 枸杞 (โก๋วฉี่) ในภาษาจีนกลาง หรือ Goji Berry ในทางการค้า ต่างเป็นสรรพนามที่นานาประเทศขนานนามถึงพืชชนิดหนึ่งที่มีชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า Lycium Barbarum เป็นเก๋ากี้สายพันธุ์ที่พบในภาคเหนือของจีน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตหนิงเซี่ย) เป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วนทั้งราก ใบ หน่อ ดอก และผล โดยทั้ง 2 สายพันธุ์จัดอยู่ในตระกูล Solanaceae nightshade เช่นเดียวกันกับมันฝรั่ง มะเขือยาว พริก และ ใบยาสูบ
เก๋ากี้ถูกใช้ในวงการแพทย์แผนโบราณของจีนมายาวนานกว่า 5,000 ปี เป็น 1 ใน 3 ยาจีนล้ำค่าเช่นเดียวกับโสมและชาเขียว ตำรา神农本草经 (ตำราสมุนไพรของเสินหนง ; เทพกสิกร) ตำราพืชทางการแพทย์ยุคแรกเริ่มของจีนในสมัย 475-225 B.C. มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรระบุว่า เมล็ดเก๋ากี้มีสารอาหารที่สำคัญหลากชนิด ช่วยในการซ่อมแซมและฟื้นฟูอวัยวะสำคัญของร่างกาย บำรุงเลือด สายตา ตับ และไต เพิ่มพลัง “ ชี่ ” หรือพลังชีวิต เพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกและกล้ามเนื้อ และช่วยให้อายุยืน






ข้อมูลจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า เมล็ดเก๋ากี้จากหนิงเซี่ยแต่ละเมล็ดประกอบด้วยกรดอะมิโน 18 จาก 20 ชนิดที่ร่างกายใช้ในการสร้างโปรตีน อุดมไปด้วย Polysaccharides  มีค่า Glycemic Index (GI) ต่ำ อุดมไปด้วยสาร Antioxidant ในกลุ่ม Polyphenol และ Flavonoid สูงกว่าพืชทั่ว ๆไป มีใยอาหารสูงถึงร้อยละ 20 มีวิตามินซีสูงกว่าส้ม มีเบต้าแคโรทีนสูงกว่าแครอท มีแคลเซียมสูงกว่าบร๊อคโคลี่ และมีค่า ORAC (สมรรถภาพการดูดซับอนุมูลอิสระของออกซิเจน) สูงกว่าเก๋ากี้จากที่อื่น ๆ กว่าร้อยละ 50 ยิ่งไปกว่านั้น เก๋ากี้จากหนิงเซี่ยเป็นเพียงชนิดเดียวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในหนังสือแพทย์แผนจีนร่วมสมัย The Pharmacopoeia of the People’s Republic of China ที่ออกโดยกระทรวงสาธารณสุขจีนและเป็นยอมรับในวงกว้าง












เขตหนิงเซี่ยมีชื่อเสียงด้านการเพาะปลูกเก๋ากี้มากว่า 600 ปี เชื่อกันว่าแต่เดิม ต้นเก๋ากี้เติบโตขึ้นเองตามธรรมชาติบริเวณป้อมโบราณฉางเล่อเป่า หย่งคังเป่า และ ซวนเหอเป่า ริมแม่น้ำเหลืองในเขตเมืองจงเว่ย แล้วถูกนำมาเพาะปลูกโดยชาวบ้านชนชาติหุยและฮั่นในเวลาต่อมา ผ่านระยะเวลาการคัดกรองสายพันธุ์ที่ยาวนานจากรุ่นสู่รุ่น กลายเป็นเก๋ากี้คุณภาพสูงตามตำรา “ สีสด ผลโต เปลือกบาง เนื้อแน่น เมล็ดน้อย และมีรสหวานจัด” ซึ่งทำให้เก๋ากี้จากหนิงเซี่ยเป็นที่รู้จักในวงกว้าง และถูกนำสายพันธุ์ไปเพาะปลูกในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศจีนในกาลต่อมา ทุกวันนี้ เก๋ากี้ส่วนใหญ่ที่เพาะปลูกอยู่ใน 20 กว่ามณฑลทั้งจีน รวมถึงยุโรป ประเทศแถบทะเลเมดิเตอเรเนียน อเมริกาเหนือ และสหภาพโซเวียต ล้วนแล้วแต่มีบรรพบุรุษเป็นเก๋ากี้จากหนิงเซี่ยด้วยกันทั้งสิ้น


แต่เหตุใดหนิงเซี่ยจึงเป็นแหล่งผลิตเก๋ากี้ที่ดีที่สุด?






แม่น้ำเหลืองได้พัดพาเอาสารอาหารและแร่ธาตุอันอุดมสมบูรณ์จากที่ราบสูงทิเบตผนวกกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสม ทำให้หนิงเซี่ยเป็นจุดกำเนิดของเก๋ากี้ที่มีเอกลักษณ์และคุณภาพเฉพาะตัวแบบไร้ข้อเปรียบเทียบ ตามบันทึกในประวัติศาสตร์ แหล่งผลิตเก๋ากี้แบ่งออกเป็น 3 เขตด้วยกัน ประกอบด้วย






1. เขตกานโจวในมณฑลกานซู (甘州) เรียกผลผลิตว่า “กานเก๋ากี้” (甘枸杞)






2. อำเภอจงหนิง เมืองจงเว่ยในเขตหนิงเซี่ย (เมื่อ 1,000 ปีก่อนอยู่ในเขตปกครองมณฑลส่านซี) เรียกผลผลิตว่า “ซีเก๋ากี้” (西枸杞)






3. เขตเทียนจิน ที่ว่ากันว่ามีการนำสายพันธุ์จาก หนิงเซี่ยไปพัฒนาในสมัยราชวงศ์ชิง เรียกว่า “จินเก๋ากี้” (津枸杞 ) โดยเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน “ซีเก๋ากี้” ยังคงเป็นเก๋ากี้ที่คุณภาพดีที่สุดจวบจนปัจจุบัน






ประสบการณ์อันยาวนานเกี่ยวกับการเพาะปลูกเก๋ากี้ของชาวบ้านในพื้นที่อันสั่งสมจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้อำเภอจงหนิง เขตผลิต“ ซีเก๋ากี้” ในอดีตกาล ได้รับการประกาศให้เป็น “หมู่บ้านแห่งเก๋ากี้” ในปี พ.ศ. 2538 โดยเมล็ดเก๋ากี้จากจงหนิงยังได้รับถ้วยทองคำในงานพืชสวนโลกที่นครคุนหมิง ในปี 2543 จนทำให้มีคำกล่าวที่ว่า โลกมองเก๋ากี้ดีอยู่ที่จีน จีนมองเก๋ากี้ดีอยู่ที่หนิงเซี่ย ที่สุดของเก๋ากี้หนิงเซี่ยต้องที่จงหนิง ซึ่งข้อได้เปรียบนี้ได้ก่อให้เกิดการจัดตั้ง “พิพิธภัณฑ์เก๋ากี้” รวมถึงโครงการ “ ศูนย์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติเก๋ากี้” ขึ้นในหนิงเซี่ย เพื่อสืบทอดและบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของวิถีชีวิตของชาวบ้านและวัฒนธรรมเก๋ากี้ที่ดำเนินมาอย่างช้านาน รอการถ่ายทอดสู่ผู้มาเยือนจากทั่วโลก








วิวัฒนาการอุตสาหกรรมเก๋ากี้ในหนิงเซี่ย
ที่ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลหนิงเซี่ยได้ให้การสนับสนุนและผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรเด่นในพื้นที่โดยมีอุตสาหกรรมเก๋ากี้เป็นแกนกลาง มาตรการต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูก การสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปเชิงลึก รวมถึงการจัดตั้งหน่วยงานวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและการพัฒนาสายพันธุ์ ส่งผลให้ชาวบ้านในพื้นที่มีรายรับและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเป็นลำดับ






 
รวบรวมโดย ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน หมายเหตุ- ข้อมูลแสดงเป็นปี พ.ศ.  -หน่วยพื้นที่เป็น “หมู่”  (2.4 หมู่ = 1 ไร่ )
จากตาราง หนิงเซี่ยมีพื้นที่เพาะปลูกเก๋ากี้เพียง 26,000 หมู่ในปี 2540 แล้วเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากในปีต่อ ๆ มาเฉลี่ยร้อยละ 17.3 จากนโยบายการพัฒนาพื้นที่การเพาะปลูกเก๋ากี้โดยมีอำเภอจงหนิงเป็นจุดศูนย์กลาง ที่ผ่านมา ปริมาณการผลิตเก๋ากี้จากหนิงเซี่ยในแต่ละปีเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 50 ของผลผลิตเก๋ากี้ภายในจีน ซึ่งข้อมูลในปี 2552 ชี้ว่า หนิงเซี่ยมีปริมาณการส่งออกเก๋ากี้มูลค่ากว่า 20.35 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 65







 
รวบรวมโดย ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ นครซีอานหมายเหตุ - ข้อมูลแสดงเป็นปี พ.ศ.
ความนิยมของเก๋ากี้หนิงเซี่ยได้สร้างรายรับกว่าปีละ 1,500 ล้านหยวนสู่ชาวบ้านท้องที่ โดยในปี 2552 ที่ผ่านมา มูลค่าการค้าเก๋ากี้ของเขตหนิงเซี่ยคิดเป็นจำนวนถึงกว่า 2,100 ล้านหยวน นอกจากนี้ หนิงเซี่ยยังมีการตั้งเป้าหมายพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกให้ครบ 800,000 หมู่ ทำปริมาณผลผลิตเก๋ากี้แห้ง 160 ล้านตัน และพัฒนาอุตสาหกรรมสินค้าแปรรูปให้มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 30 ภายในปี 2554






อนาคตแห่งเก๋ากี้ อุตสาหกรรมชั้นนำแห่งหนิงเซี่ย















คุณค่าทางอาหารและประโยชน์ที่มีอยู่เหลือคณานับในหนิงเซี่ยเก๋ากี้ไม่ได้เป็นเพียงคำบอกแค่คำบอกเล่าจากรุ่นสู่รุ่นเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ผลการวิจัยด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้เก๋ากี้กลายเป็นสินค้ากำลังได้รับความสนใจและการยอมรับจากกลุ่มผู้รักสุขภาพจากทั่วโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน เก๋ากี้ไม่เพียงแต่ถูกจำหน่ายออกนอกเขตหนิงเซี่ยในรูปแบบเมล็ดแห้ง หากแต่ยังมีผลิตภัณฑ์แปรรูปในหลายรูปแบบ เช่น กาแฟเก๋ากี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร น้ำผลไม้สกัด ชายอดเก๋ากี้ ไวน์ น้ำมันเก๋ากี้ ขนมขบเคี้ยว และอื่น ๆ อีกมากมายกว่า 50 ชนิดใน 10 ประเภทใหญ่ เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค ปัจจุบัน หนิงเซี่ยมีผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับเก๋ากี้อยู่ทั้งสิ้นกว่า 140 บริษัท และมีถึง 27 แห่งที่เป็น Large -Scale Industry (มีมูลค่าการผลิตปีละกว่า 50 ล้านหยวนขึ้นไป) ซึ่งในปี 2552 เก๋ากี้สร้างรายได้สู่อุตสาหกรรมในทุกระดับและแขนงในเขตหนิงเซี่ยรวมถึงกว่า 2,100 ล้านหยวน















อนึ่ง เก๋ากี้จากหนิงเซี่ยถูกส่งไปจำหน่ายในกว่า 70 เมืองใหญ่ทั่วจีน และอีกกว่า 30 ประเทศทั่วโลก มีคำกล่าวว่า “ เก๋ากี้ ” จะไม่เป็นเพียงแค่สินค้าเกษตรชนิดหนึ่งของหนิงเซี่ยอีกต่อไป หากจะเป็นเสมือน “นามบัตร” ที่จะช่วยนำชื่อเสียงและเอกลักษณ์ของเขตปกครองตนเองชนชาติหุยหนิงเซี่ยเผยแพร่สู่สายชาวโลก










ตารางแสดงปริมาณสารอาหารและแร่ธาตุในเมล็ดเก๋ากี้หนิงเซี่ย 100 กรัม
Calciam
112    มิลลิกรัม
Potassiam
1,132 มิลลิกรัม
Iron
     มิลลิกรัม
Zinc
2      มิลลิกรัม
Selenium
 50    ไมโครกรัม
Riboflavin (vitamin B2)
                       1.3   มิลลิกรัม
Vitamin C
     100  มิลลิกรัมขึ้นไป
Beta-carotene
                       7     มิลลิกรัม
Zeaxanthin
60 - 82 มิลลิกรัม
และ อื่น ๆ