วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ข้อมูลเศรษฐกิจจีน
ประเทศจีนมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว มีพลวัตรสูง และเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ (economic powerhouse) ของภูมิภาคและของโลกด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี และการพัฒนาประเทศแบบก้าวกระโดดกำลังเป็นที่จับตามองของทุกฝ่ายว่าการเติบโตนี้จะมุ่งไปในทิศทางใด
ปัจจุบันถนนทุกสายวิ่งสู่ประเทศจีนซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองลงมาจาก สหรัฐฯ และญี่ปุ่น และมีเงินทุนสำรองที่มากที่สุดในโลกโดยความสำเร็จนี้นำมาซึ่งความห่วงกังวลและโอกาส โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน
เขตเศรษฐกิจที่สำคัญของจีนมี ดังนี้
- เขตลุ่มแม่น้ำเพิร์ล (Pearl River Delta) ประกอบด้วย 9 เมือง ได้แก่ นครกวางโจว เสิ่นเจิ้น จูไห่ ตงก่วน ฝอซาน (รวมหนานไห่และซุนเต๋อ) จงซาน เจียงเหมิน หุ้ยโจว (ยกเว้น Longmen County) และจ้าวฉิ้ง (เขตเมืองจ้าวฉิ้ง Gaoyao และ Sihui)
- เขตปากน้ำแยงซี (Yangtze River Delta) รวม 16 เมือง ได้แก่ นครเซี่ยงไฮ้ 8 เมืองในมณฑลเจียงซู และ 7 เมืองในมณฑลเจ้อเจียง
- เขตเศรษฐกิจป๋อไห่ (Bohai Economic Zone) ประกอบด้วยกรุงปักกิ่ง มหานครเทียนจิน และเมืองในมณฑลเหอเป่ยและชานตง1
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คลอบคลุมมณฑลเหลียวหนิง จี๋หลิน และเฮยหลงเจียง ซึ่งในอดีตเป็นเขตอุตสาหกรรมหนักที่สำคัญของประเทศ แต่ได้รับผลกระทบหลังจากที่รัฐบาลจีนได้เริ่มดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบระบบตลาด (market economy) ส่งผลให้เขตนี้มีความล้าหลังกว่า 3 เขต ข้างต้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่จะฟื้นฟูเขตดังกล่าวให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมหนักของประเทศ เป็น new powerhouse ของประเทศเช่นเดียวกับเขตเศรษฐกิจ 3 เขตข้างต้น โดยได้กำหนดให้เหลียวหนิงเป็นศูนย์การผลิตอุปกรณ์และวัตถุดิบระดับโลก
GDP | 30.0670 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (+9% จากปี 2550) |
การค้ากับต่างประเทศ การส่งออก การนำเข้า ดุลการค้า | 2.5616 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (+17.8% จากปี 2550) 1.4285 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (+17.2%จากปี 2550) 1.1331 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (+20.8% จากปี 2550) +295.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ |
เงินทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ | 1.95 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ |
การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ | 92.395 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ |
การลงทุนของจีนในต่างประเทศ | 55.91 พันล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ |
อัตราเงินเฟ้อ | 7.8% |
2.1 ด้านการค้า
การค้าระหว่างไทยกับจีนได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปี 2551
การค้าทวิภาคีมีมูลค่า 41,261,646,573 ดอลลาร์สหรัฐ โดยแยกเป็นจีนส่งออกมาไทยมูลค่า 15,605,074,417 ดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าจากไทยมูลค่า 25,656,572,156 ดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับจีน 10,051,497,739 ดอลลาร์สหรัฐ จีนเป็นตลาดส่งออกสินค้าสำคัญเกือบทุกชนิดของไทย โดยเฉพาะสินค้าเกษตร และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นต่อไป โดยเฉพาะสินค้าประเภทวัตถุดิบ พลังงาน เคมีภัณฑ์ และสินค้าเกษตร
2.2 การลงทุน
การลงทุนระหว่างไทยกับจีนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
แม้การลงทุนของจีนในไทยจะยังไม่มากนัก และกระจายตัวตามมณฑลต่างๆ โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนระยะสั้น และมีขนาดกลาง
ในปี 2551 การลงทุนของไทยในจีนมีมูลค่า 129 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วยอุตสาหกรรมการเกษตร ป่าไม้ อสังหาริมทรัพย์ ธนาคาร เป็นต้น ส่วนการลงทุนของจีนในไทยมีมูลค่า 43.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รัฐบาลจีนมีนโยบายส่งเสริมให้นักธุรกิจจีนไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น2 โดยอาเซียนเป็นกลุ่มประเทศเป้าหมายที่นักลงทุนจีนให้ความสนใจเป็นอันดับแรกอันเนื่องจากความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์และความคล้ายคลึงของขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมระหว่างกัน ซึ่งไทยมีความได้เปรียบและจุดเด่นในด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในอันที่จะทำหน้าที่เป็นประตูสำหรับจีนไปสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค
2.3 การท่องเที่ยว
คนจีนมีรายได้สูงขึ้น และรัฐบาลจีนเริ่มที่จะอนุญาตให้คนจีนเดินทางไปต่างประเทศมากขึ้น โดยประเทศไทยมีที่ตั้งที่เหมาะสมในการรองรับการหลั่งไหลของคนจีนที่จะไปท่องเที่ยวต่างประเทศ
ตลาดนักท่องเที่ยวจีนเป็นตลาดที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเป็นตลาดนักท่องเที่ยวหลักของไทย โดยจนถึงปี 2550 มีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางไปประเทศไทยประมาณ 1,003,141 คน โดยไทยเป็นประเทศ/พื้นที่ที่ชาวจีนเดินทางไปท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับที่ 4 รองจากฮ่องกง มาเก๊า และญี่ปุ่น
ไทยกับจีนมีความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ และเชื้อชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม ประชาชนของทั้งสองประเทศมีความเข้าใจพื้นฐานที่ดีระหว่างกัน ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวไทยมีความสะดวดสบายสำหรับนักท่องเที่ยวจีน
ในปี 2553 เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนจะมีผลบังคับใช้ซึ่งจะเกิดการหลั่งไหลและเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลต่อด้านการค้า การลงทุน การเดินทาง การคมนาคมต่าง ๆ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน กับไทยด้วยการอย่างของสินค้าจากจีนสู่ไทยและต่อไปยังภูมิภาคอาเซียน
ปัจจุบันจีนได้สร้างเส้นทางเชื่อมโยงไทย และตอนใต้ของจีนโดยการคมนาคมประกอบด้วย
- การเดินทางทางบกด้วยเส้นทาง R3A ระหว่างเชียงของ-ห้วยทราย-หลวงน้ำทา-บ่อหาร-จิ่งหง-ซือเหมา-คุนหมิง (รวม 1,104 กม.) เส้นทาง R3B ระหว่างแม่สาย-เชียงตุง-เมืองลา-จิ่งหง-ซือเหมา-คุนหมิง (รวม 1,053 กม.) และเส้นทาง R9 ที่ขนส่งผ่านทางบกตลอดเส้นทาง ลำเลียงผลไม้จากประเทศไทย (จังหวัดมุกดาหาร) – ผ่านประเทศลาว (สะหวันนะเขต-แดนสะหวัน) – ประเทศเวียดนาม (ลาวบ๋าว-ฮาติน-เถื่อนฮว่า-ฮานอย-หลั่งเซิน) เข้าสู่ด่านโหย่วอี้กวน (ผิงเสียง) เขตปกครองตนเองกวางสี ประเทศจีน และขนส่งถึงตลาดซินฟาตี้ กรุงปักกิ่ง (รวม 2,031 กม.)
- การเดินทางทางน้ำ ระหว่างจิ่งหง-กวนเหล่ย-เชียงแสน (รวม 344 กม.)
- การเดินทางทางอากาศ ระหว่างกรุงเทพฯ-คุนหมิงและกรุงเทพฯ-จิ่งหง
- การเดินทางทางรถไฟ
เขตเศรษฐกิจทั้ง 3 เขตข้างต้นเป็น powerhouse ของการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจจีน โดยเป็นแหล่งรวมตัวกันของนักลงทุนต่างชาติ มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่สูง และรวดเร็วกว่าเขตอื่นของประเทศหลายเท่าตัว จึงทำให้ความเจริญทางเศรษฐกิจของจีนกระจุกตัวในเขตดังกล่าว หรือบริเวณใกล้เคียง
บริษัทจีนที่มีศักยภาพที่จะออกไปลงทุนในต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจ (State Owned Enterprises: SOEs)
http://www.thaiembbeij.org/thaibizchina/th/china-info/economy/
ภาพรวมทางการค้า
นับ แต่จีนเริ่มใช้นโยบายเปิดประเทศเมื่อปี 2521 มูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นตามลำดับอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จากมูลค่าการค้ากับต่างประเทศเพียง 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2523 ได้ขยายตัวเป็น 20,343.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2548 การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในแง่มูลค่าการค้าเท่านั้น แต่รวมถึงองค์ประกอบของสินค้าออกและสินค้านำเข้าด้วย กล่าวคือ ก่อนปี 2522 สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ของจีนเป็นสินค้าขั้นปฐม (primary product) ซึ่งได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติและผลผลิตการเกษตร เมื่อระยะเวลาผ่านไป สัดส่วนของสินค้าอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้นมากขึ้นตามลำดับ โดยในปี 2543 เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 89.8 ของสินค้าส่งออกทั้งหมด
สถิติการค้าจากศุลกากรจีน (ปี 2550)
การ ค้ากับต่างประเทศในปี 2550 มีมูลค่า 2,173.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในจำนวนนี้ เป็นมูลค่าการส่งออก 1,218.01 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 จากปี 2549 และมูลค่าการนำเข้า 955.82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 จากปี 2549
สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร เครื่องใช้ไฟฟ้า
เครื่องนุ่งห่ม
สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า น้ำมัน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ประเทศ/เขตเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน เยอรมันนี
รัสเซีย EU อาเซียน (ไทยเป็นอันดับที่ 14)
ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เยอรมันนี ตามลำดับ
ตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สหรัฐฯ เยอรมันนี ตามลำดับ
ตลาดสำคัญที่จีนได้ดุลการค้า คือ สหรัฐฯ ฮ่องกง เยอรมันนี สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร อินเดีย ฝรั่งเศส
ตลาดสำคัญที่จีนขาดดุลการค้า คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน รัสเซีย มาเลเซีย ออสเตรเลีย ไทย
นับ แต่จีนเริ่มใช้นโยบายเปิดประเทศเมื่อปี 2521 มูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นตามลำดับอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จากมูลค่าการค้ากับต่างประเทศเพียง 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2523 ได้ขยายตัวเป็น 20,343.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2548 การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในแง่มูลค่าการค้าเท่านั้น แต่รวมถึงองค์ประกอบของสินค้าออกและสินค้านำเข้าด้วย กล่าวคือ ก่อนปี 2522 สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ของจีนเป็นสินค้าขั้นปฐม (primary product) ซึ่งได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติและผลผลิตการเกษตร เมื่อระยะเวลาผ่านไป สัดส่วนของสินค้าอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้นมากขึ้นตามลำดับ โดยในปี 2543 เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 89.8 ของสินค้าส่งออกทั้งหมด
สถิติการค้าจากศุลกากรจีน (ปี 2550)
การ ค้ากับต่างประเทศในปี 2550 มีมูลค่า 2,173.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในจำนวนนี้ เป็นมูลค่าการส่งออก 1,218.01 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 จากปี 2549 และมูลค่าการนำเข้า 955.82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 จากปี 2549
สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร เครื่องใช้ไฟฟ้า
เครื่องนุ่งห่ม
สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า น้ำมัน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ประเทศ/เขตเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน เยอรมันนี
รัสเซีย EU อาเซียน (ไทยเป็นอันดับที่ 14)
ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เยอรมันนี ตามลำดับ
ตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สหรัฐฯ เยอรมันนี ตามลำดับ
ตลาดสำคัญที่จีนได้ดุลการค้า คือ สหรัฐฯ ฮ่องกง เยอรมันนี สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร อินเดีย ฝรั่งเศส
ตลาดสำคัญที่จีนขาดดุลการค้า คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน รัสเซีย มาเลเซีย ออสเตรเลีย ไทย
เก๋ากี้ ขุมทรัพย์สีทับทิมแห่งเขตหนิงเซี่ย
เก๋ากี้ ผลไม้แห้งเมล็ดเล็กเรียว สีส้ม – แดงสด ที่ชาวไทยรู้จักกันดีในฐานะหนึ่งในพืชสมุนไพรจีนที่เป็นส่วนผสมอาหารคาวหวานหลากชนิดด้วยชื่อเสียงด้านคุณค่าทางสารอาหารที่เลื่องลือ ในวันนี้ ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ นครซีอานจะขอนำทุกท่านเดินทางไปยังเขตปกครองตนเองชนชาติหุยหนิงเซี่ย ดินแดนที่ได้ชื่อว่าเป็น “แหล่งผลิตเก๋ากี้ที่ดีที่สุดในโลก”
เมล็ดเก๋ากี้ , Wolfberry, Red Medlar, 枸杞 (โก๋วฉี่) ในภาษาจีนกลาง หรือ Goji Berry ในทางการค้า ต่างเป็นสรรพนามที่นานาประเทศขนานนามถึงพืชชนิดหนึ่งที่มีชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า Lycium Barbarum เป็นเก๋ากี้สายพันธุ์ที่พบในภาคเหนือของจีน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตหนิงเซี่ย) เป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วนทั้งราก ใบ หน่อ ดอก และผล โดยทั้ง 2 สายพันธุ์จัดอยู่ในตระกูล Solanaceae nightshade เช่นเดียวกันกับมันฝรั่ง มะเขือยาว พริก และ ใบยาสูบ
เก๋ากี้ถูกใช้ในวงการแพทย์แผนโบราณของจีนมายาวนานกว่า 5,000 ปี เป็น 1 ใน 3 ยาจีนล้ำค่าเช่นเดียวกับโสมและชาเขียว ตำรา神农本草经 (ตำราสมุนไพรของเสินหนง ; เทพกสิกร) ตำราพืชทางการแพทย์ยุคแรกเริ่มของจีนในสมัย 475-225 B.C. มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรระบุว่า เมล็ดเก๋ากี้มีสารอาหารที่สำคัญหลากชนิด ช่วยในการซ่อมแซมและฟื้นฟูอวัยวะสำคัญของร่างกาย บำรุงเลือด สายตา ตับ และไต เพิ่มพลัง “ ชี่ ” หรือพลังชีวิต เพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกและกล้ามเนื้อ และช่วยให้อายุยืน
ข้อมูลจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า เมล็ดเก๋ากี้จากหนิงเซี่ยแต่ละเมล็ดประกอบด้วยกรดอะมิโน 18 จาก 20 ชนิดที่ร่างกายใช้ในการสร้างโปรตีน อุดมไปด้วย Polysaccharides มีค่า Glycemic Index (GI) ต่ำ อุดมไปด้วยสาร Antioxidant ในกลุ่ม Polyphenol และ Flavonoid สูงกว่าพืชทั่ว ๆไป มีใยอาหารสูงถึงร้อยละ 20 มีวิตามินซีสูงกว่าส้ม มีเบต้าแคโรทีนสูงกว่าแครอท มีแคลเซียมสูงกว่าบร๊อคโคลี่ และมีค่า ORAC (สมรรถภาพการดูดซับอนุมูลอิสระของออกซิเจน) สูงกว่าเก๋ากี้จากที่อื่น ๆ กว่าร้อยละ 50 ยิ่งไปกว่านั้น เก๋ากี้จากหนิงเซี่ยเป็นเพียงชนิดเดียวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในหนังสือแพทย์แผนจีนร่วมสมัย The Pharmacopoeia of the People’s Republic of China ที่ออกโดยกระทรวงสาธารณสุขจีนและเป็นยอมรับในวงกว้าง
เขตหนิงเซี่ยมีชื่อเสียงด้านการเพาะปลูกเก๋ากี้มากว่า 600 ปี เชื่อกันว่าแต่เดิม ต้นเก๋ากี้เติบโตขึ้นเองตามธรรมชาติบริเวณป้อมโบราณฉางเล่อเป่า หย่งคังเป่า และ ซวนเหอเป่า ริมแม่น้ำเหลืองในเขตเมืองจงเว่ย แล้วถูกนำมาเพาะปลูกโดยชาวบ้านชนชาติหุยและฮั่นในเวลาต่อมา ผ่านระยะเวลาการคัดกรองสายพันธุ์ที่ยาวนานจากรุ่นสู่รุ่น กลายเป็นเก๋ากี้คุณภาพสูงตามตำรา “ สีสด ผลโต เปลือกบาง เนื้อแน่น เมล็ดน้อย และมีรสหวานจัด” ซึ่งทำให้เก๋ากี้จากหนิงเซี่ยเป็นที่รู้จักในวงกว้าง และถูกนำสายพันธุ์ไปเพาะปลูกในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศจีนในกาลต่อมา ทุกวันนี้ เก๋ากี้ส่วนใหญ่ที่เพาะปลูกอยู่ใน 20 กว่ามณฑลทั้งจีน รวมถึงยุโรป ประเทศแถบทะเลเมดิเตอเรเนียน อเมริกาเหนือ และสหภาพโซเวียต ล้วนแล้วแต่มีบรรพบุรุษเป็นเก๋ากี้จากหนิงเซี่ยด้วยกันทั้งสิ้น
แต่เหตุใดหนิงเซี่ยจึงเป็นแหล่งผลิตเก๋ากี้ที่ดีที่สุด?
แม่น้ำเหลืองได้พัดพาเอาสารอาหารและแร่ธาตุอันอุดมสมบูรณ์จากที่ราบสูงทิเบตผนวกกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสม ทำให้หนิงเซี่ยเป็นจุดกำเนิดของเก๋ากี้ที่มีเอกลักษณ์และคุณภาพเฉพาะตัวแบบไร้ข้อเปรียบเทียบ ตามบันทึกในประวัติศาสตร์ แหล่งผลิตเก๋ากี้แบ่งออกเป็น 3 เขตด้วยกัน ประกอบด้วย
1. เขตกานโจวในมณฑลกานซู (甘州) เรียกผลผลิตว่า “กานเก๋ากี้” (甘枸杞)
2. อำเภอจงหนิง เมืองจงเว่ยในเขตหนิงเซี่ย (เมื่อ 1,000 ปีก่อนอยู่ในเขตปกครองมณฑลส่านซี) เรียกผลผลิตว่า “ซีเก๋ากี้” (西枸杞)
3. เขตเทียนจิน ที่ว่ากันว่ามีการนำสายพันธุ์จาก หนิงเซี่ยไปพัฒนาในสมัยราชวงศ์ชิง เรียกว่า “จินเก๋ากี้” (津枸杞 ) โดยเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน “ซีเก๋ากี้” ยังคงเป็นเก๋ากี้ที่คุณภาพดีที่สุดจวบจนปัจจุบัน
วิวัฒนาการอุตสาหกรรมเก๋ากี้ในหนิงเซี่ย
ประสบการณ์อันยาวนานเกี่ยวกับการเพาะปลูกเก๋ากี้ของชาวบ้านในพื้นที่อันสั่งสมจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้อำเภอจงหนิง เขตผลิต“ ซีเก๋ากี้” ในอดีตกาล ได้รับการประกาศให้เป็น “หมู่บ้านแห่งเก๋ากี้” ในปี พ.ศ. 2538 โดยเมล็ดเก๋ากี้จากจงหนิงยังได้รับถ้วยทองคำในงานพืชสวนโลกที่นครคุนหมิง ในปี 2543 จนทำให้มีคำกล่าวที่ว่า “ โลกมองเก๋ากี้ดีอยู่ที่จีน จีนมองเก๋ากี้ดีอยู่ที่หนิงเซี่ย ที่สุดของเก๋ากี้หนิงเซี่ยต้องที่จงหนิง ” ซึ่งข้อได้เปรียบนี้ได้ก่อให้เกิดการจัดตั้ง “พิพิธภัณฑ์เก๋ากี้” รวมถึงโครงการ “ ศูนย์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติเก๋ากี้” ขึ้นในหนิงเซี่ย เพื่อสืบทอดและบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของวิถีชีวิตของชาวบ้านและวัฒนธรรมเก๋ากี้ที่ดำเนินมาอย่างช้านาน รอการถ่ายทอดสู่ผู้มาเยือนจากทั่วโลก
วิวัฒนาการอุตสาหกรรมเก๋ากี้ในหนิงเซี่ย
ที่ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลหนิงเซี่ยได้ให้การสนับสนุนและผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรเด่นในพื้นที่โดยมีอุตสาหกรรมเก๋ากี้เป็นแกนกลาง มาตรการต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูก การสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปเชิงลึก รวมถึงการจัดตั้งหน่วยงานวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและการพัฒนาสายพันธุ์ ส่งผลให้ชาวบ้านในพื้นที่มีรายรับและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเป็นลำดับ
รวบรวมโดย ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน หมายเหตุ- ข้อมูลแสดงเป็นปี พ.ศ. -หน่วยพื้นที่เป็น “หมู่” (2.4 หมู่ = 1 ไร่ )
จากตาราง หนิงเซี่ยมีพื้นที่เพาะปลูกเก๋ากี้เพียง 26,000 หมู่ในปี 2540 แล้วเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากในปีต่อ ๆ มาเฉลี่ยร้อยละ 17.3 จากนโยบายการพัฒนาพื้นที่การเพาะปลูกเก๋ากี้โดยมีอำเภอจงหนิงเป็นจุดศูนย์กลาง ที่ผ่านมา ปริมาณการผลิตเก๋ากี้จากหนิงเซี่ยในแต่ละปีเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 50 ของผลผลิตเก๋ากี้ภายในจีน ซึ่งข้อมูลในปี 2552 ชี้ว่า หนิงเซี่ยมีปริมาณการส่งออกเก๋ากี้มูลค่ากว่า 20.35 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 65
รวบรวมโดย ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ณ นครซีอานหมายเหตุ - ข้อมูลแสดงเป็นปี พ.ศ.
ความนิยมของเก๋ากี้หนิงเซี่ยได้สร้างรายรับกว่าปีละ 1,500 ล้านหยวนสู่ชาวบ้านท้องที่ โดยในปี 2552 ที่ผ่านมา มูลค่าการค้าเก๋ากี้ของเขตหนิงเซี่ยคิดเป็นจำนวนถึงกว่า 2,100 ล้านหยวน นอกจากนี้ หนิงเซี่ยยังมีการตั้งเป้าหมายพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกให้ครบ 800,000 หมู่ ทำปริมาณผลผลิตเก๋ากี้แห้ง 160 ล้านตัน และพัฒนาอุตสาหกรรมสินค้าแปรรูปให้มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 30 ภายในปี 2554
อนาคตแห่งเก๋ากี้ อุตสาหกรรมชั้นนำแห่งหนิงเซี่ย
คุณค่าทางอาหารและประโยชน์ที่มีอยู่เหลือคณานับในหนิงเซี่ยเก๋ากี้ไม่ได้เป็นเพียงคำบอกแค่คำบอกเล่าจากรุ่นสู่รุ่นเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ผลการวิจัยด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้เก๋ากี้กลายเป็นสินค้ากำลังได้รับความสนใจและการยอมรับจากกลุ่มผู้รักสุขภาพจากทั่วโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน เก๋ากี้ไม่เพียงแต่ถูกจำหน่ายออกนอกเขตหนิงเซี่ยในรูปแบบเมล็ดแห้ง หากแต่ยังมีผลิตภัณฑ์แปรรูปในหลายรูปแบบ เช่น กาแฟเก๋ากี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร น้ำผลไม้สกัด ชายอดเก๋ากี้ ไวน์ น้ำมันเก๋ากี้ ขนมขบเคี้ยว และอื่น ๆ อีกมากมายกว่า 50 ชนิดใน 10 ประเภทใหญ่ เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค ปัจจุบัน หนิงเซี่ยมีผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับเก๋ากี้อยู่ทั้งสิ้นกว่า 140 บริษัท และมีถึง 27 แห่งที่เป็น Large -Scale Industry (มีมูลค่าการผลิตปีละกว่า 50 ล้านหยวนขึ้นไป) ซึ่งในปี 2552 เก๋ากี้สร้างรายได้สู่อุตสาหกรรมในทุกระดับและแขนงในเขตหนิงเซี่ยรวมถึงกว่า 2,100 ล้านหยวน
อนึ่ง เก๋ากี้จากหนิงเซี่ยถูกส่งไปจำหน่ายในกว่า 70 เมืองใหญ่ทั่วจีน และอีกกว่า 30 ประเทศทั่วโลก มีคำกล่าวว่า “ เก๋ากี้ ” จะไม่เป็นเพียงแค่สินค้าเกษตรชนิดหนึ่งของหนิงเซี่ยอีกต่อไป หากจะเป็นเสมือน “นามบัตร” ที่จะช่วยนำชื่อเสียงและเอกลักษณ์ของเขตปกครองตนเองชนชาติหุยหนิงเซี่ยเผยแพร่สู่สายชาวโลก
——————————————————
ตารางแสดงปริมาณสารอาหารและแร่ธาตุในเมล็ดเก๋ากี้หนิงเซี่ย 100 กรัม | |
Calciam | 112 มิลลิกรัม |
Potassiam | 1,132 มิลลิกรัม |
Iron | 9 มิลลิกรัม |
Zinc | 2 มิลลิกรัม |
Selenium | 50 ไมโครกรัม |
Riboflavin (vitamin B2) | 1.3 มิลลิกรัม |
Vitamin C | 100 มิลลิกรัมขึ้นไป |
Beta-carotene | 7 มิลลิกรัม |
Zeaxanthin | 60 - 82 มิลลิกรัม |
และ อื่น ๆ |
วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ประเทศจีนมหาการค้าส่งออก
ประเทศจีนมหาการค้าส่งออก
การค้าต่างประเทศจีนขึ้นแท่นประเทศการค้าใหญ่อันดับ 3 ของโลกอีกในปีนี้ ด้วยตัวเลขการค้าต่างประเทศประจำปี 2005 ที่สูงถึง 1,422,120 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราสูงกว่าปีก่อนหน้า 23.2% โดยปริมาณการค้าต่างประเทศเพิ่มสูงเกือบ 3 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2001 ทั้งนี้ จากการประกาศตัวเลขการค้าต่างประเทศของสำนักงานศุลากรแห่งชาติจีนด้านการส่งออกก็ยังมาแรง อยู่ในระดับ 762,000 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราเพิ่ม 28.4% เทียบกับปีก่อนหน้า ส่วนการนำเข้า เท่ากับ 660,120 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราเพิ่ม 17.6% เทียบกับปีก่อนหน้า นอกจากนี้ ยอดเกินดุลการค้าต่างประเทศจีน ได้ทำสถิติใหม่ ที่ระดับ 102,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สูงเป็น 3 เท่า ของปีก่อนหน้า
การขยายตัวด้านการค้าต่างประเทศของจีน เป็นไปตามการคาดการณ์ของบรรดาสถาบัน ที่จับตามองการขึ้นของจีน อาทิ กลุ่มเกจิเศรษฐศาสตร์แห่งยักษใหญ่เจ พี มอร์แกน ได้คาดการณ์ว่ามูลค่าการส่งออกจีน จะสูงถึง 767,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แซงหน้าญี่ปุ่น และในปี 2010 ก็จะแซงหน้าสหรัฐฯและเยอรมนี ครองแท่นประเทศส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลก
แต่บรรดาเกจิในวงการเศรษฐกิจการค้าแดนมังกรเองได้ชี้ถึงจุดบอดที่จีนต้องฝ่าฟัน เพื่อลบล้างปัญหา และก้าวสู่การเป็นประเทศการค้าใหญ่ที่แข็งแกร่งอย่างสง่าภาคภูมิ
เจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์จีนกล่าวว่า แม้จีนจะทะยานขึ้นเป็นประเทศที่มีการค้าขนาดใหญ่อันดับ 3 ของโลก แต่ยี่ห้อจีนนั้น ยังมีจำนวนน้อย จนได้ชื่อเป็น ชาติใหญ่ด้านการผลิต ชาติเล็กด้านเครื่องหมายการค้า โดยจากการจัดอันดับเครื่องหมายการค้าที่ทรงอิทธิพลโลก 500 อันดับ ประจำปี 2005 นั้น ยี่ห้อจีนติดอันดับ เพียง 4 ยี่ห้อ เท่านั้น ได้แก่ ไห่เออร์ เลโนโว ซีซีทีวี และฉางหง
ในบรรดาบริษัทส่งออกจีนทั่วประเทศ กลุ่มที่มียี่ห้อเป็นของตัวเองนั้น มีเพียง 20% และสินค้าส่งออกที่เป็นยี่ห้อจีนเทียบกับปริมาณการส่งออกทั้งหมดของประเทศ ก็มีสัดส่วนเพียง 1% เท่านั้นโดยมีสินค้า ติดยี่ห้อ (ของคนอื่น) ท่วมท้นในภาคการค้าจีน
แม้จีนได้กลายเป็นประเทศการค้ารายใหญ่ของโลก แต่ก็ไม่ใช่ประเทศการค้าที่แข็งแกร่ง ภาคการค้าจีนยังเต็มไปด้วยความขัดแย้งเชิงโครงสร้างที่เป็นอุปสรรค์ต่อการขย ายผลประโยชน์ ประสิทธิภาพ และคุณภาพในด้านการค้าต่างประเทศ
จากเอกสารข้อมูลของหน่วยงานการค้าจีน ได้สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างในการส่งออกจีนที่สำคัญคือ เป็นเจ้าของสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาและเครื่องหมายการค้าที่ยังน้อยนิด สินค้าคุณภาพต่ำมีมากล้น ขาดแรงแข่งขันใจกลาง นอกจากนี้ การผลิตสินค้าส่งออกยังสร้างมลพิษสูง สิ้นเปลืองพลังงานมาก สัดส่วนของการส่งออกสินค้าเครื่องจักร เครื่องไฟฟ้าและสินค้าเทคโนโลยีสูงยังไม่สูงนัก ตลาดส่งออกที่พึ่งพิงตลาดเดียวหรือไม่กี่ตลาดมากเกินไป ฯลฯ
ในมูลค่าการค้าต่างประเทศอันมหาศาลของจีนนั้น มีสัดส่วนการค้าสินค้าแปรรูปยังมีอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมเบื้องต้น และโดยทั่วไป การส่งออกจีนไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูปหรือเป็นผลิตภัณฑ์เทคโนโ ลยีสูง ต่างก็มาจากรูปแบบการผลิตที่ใช้แรงงานเป็นหลัก
นอกจากนี้ ในการส่งออกขนาดใหญ่ของกลุ่มธุรกิจทุนต่างชาติ จีนได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงไม่มากนัก เนื่องจากต่างชาติเป็นฝ่ายควบคุมส่วนที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุดไม่ว่าจะเป็น การออกแบบ การวิจัยและการพัฒนา ยี่ห้อและวงจรอื่นๆ ส่วนจีนนั้น ได้รับเพียงค่าใช้จ่ายในการแปรรูปสินค้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ซุนซี่ว์เหวินรองผู้อำนวยการกรมการค้าระหว่างประเทศของกระทรวงพาณิชย ์จีน เผยว่าในการส่งออกเสื้อผ้าและสิ่งทอจีนนั้น เป็นการค้าแปรรูปสินค้าเท่ากับ 1 ใน 3 และส่วนใหญ่ยังเป็นสินค้า ติดยี่ห้อ ส่วนปริมาณการส่งออกสินค้าที่เป็นของจีนเองมีสัดส่วนราว 10% โดยที่กลุ่มบริษัทจีนได้ส่วนแบ่งกำไรจากค่าใช้จ่ายในการแปรรูปสินค้าเพียง 10% กระทั่งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า การส่งออกที่พึ่งพิงบริษัทต่างชาติและแปรรูปสินค้ามากเกินไปนั้น ไม่เพียงแต่ไม่อาจนำผลประโยชน์ที่สอดคล้องกันมาสู่เศรษฐกิจจีน แต่ยังอาจสร้างแนวโน้มช่องโหว่ในภาคการผลิตในประเทศด้วย
เฉินเฮ่าหรันนายกสมาคมนำเข้า-ส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็ก ชี้ถึงปัญหาเชิงโครงสร้างผลิตภัณฑ์ในการส่งออกเหล็ก ที่มักทำให้สินค้าปะทะกับกำแพงการค้าจากต่างประเทศ มักมีพื้นฐานมาจากสินค้ามูลค่าเพิ่มต่ำ ที่ผ่านกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีต่ำ สิ้นเปลืองพลังงานมาก ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์การเผชิญหน้ากับศึกต่อต้านการทุ่มตลาดของเหล็กจีนแต่ละชนิด ซึ่งชนิดที่โดนโจมตีมากที่สุดคือ แผ่นเหล็กรีดร้อน รองลงมาคือแผ่นเหล็กรีดเย็น เหล็กท่อน เหล็กเกลียว เป็นต้น
นอกจากนี้ สัดส่วนการส่งออกสินค้าประเภทเครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องมืออุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ ยังเป็นตัวชี้วัดสำคัญถึงความแข็งแกร่งและความอ่อนแอด้านการค้าของประเทศหนึ ่งๆ หลิวเหม่ยคุนนายกสมาคมการนำเข้าและส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าจีน กล่าวว่า แม้มูลค่ารวมการส่งออกสินค้าประเภทเครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์จีนขยายตัวติดต่อกันปีต่อปี แต่เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกทั้งหมดแล้ว ยังมีลักษณะที่ค่อนข้างนิ่งอยู่ระหว่าง 53%-55% นับว่าทิ้งห่างมากจากกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างเช่น ญี่ปุ่นมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าประเภทดังกล่าว สูงถึง 75%
อย่างไรก็ตาม จีนพยายามคลี่คลายปัญหาการค้าระหว่างประเทศ อาทิ ในปลายปีที่ผ่านมา โดยได้พยายามควบคุมผลิตภัณฑ์สินค้าส่งออกประเภททรัพยากรที่สร้างมลพิษสูง และสิ้นเปลืองพลังงานมาก อาทิ กำหนดให้สินแร่เหล็ก เหล็กดิบ เศษเหล็ก ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมโลหะเหล็ก สินแร่ฟอสฟอรัส อยู่ในกลุ่มสินค้าที่ห้ามการค้าแปรรูป และยังได้ยกเลิกการคืนภาษีการส่งออกแก่กลุ่มสินค้าได้แก่ โลหะซิลิคอน ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมไม้แปรรูปอย่างหยาบ หินขัดมัน เป็นต้น ตลอดจนมีการปรับลดอัตราคืนภาษีการส่งออกแก่กลุ่มสินค้าถ่านหิน เพิ่มภาษีการส่งออกฟอสฟอรัสเหลือง เป็นต้น
http://learners.in.th/blog/anutsara-econ/225941
วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ความแตกต่างของการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ
ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่งออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง
ปัจจุบันนี้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จำเป็นต้องติดต่อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ประเทศใดที่พยายามจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศดำเนินนโยบายปิด จะพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้นจะเชื่องช้าและมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะอยู่ในระดับต่ำประชาชนต้องบริโภคสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในประเทศเท่านั้น ไม่มีโอกาสที่จะบริโภคสินค้าและบริการที่จำเป็นในการครองชีพ
ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดมีการติดต่อค้าขายกับนานาประเทศอย่างกว้างขวางภายใต้ระบบเศรษฐกิจเปิดการค้าระหว่างประเทศ จะก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจหลายประการ ดังนี้
1. การแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) เมื่อมีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศแต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนถนัด เช่น ไทย เลือกผลิตข้าว มันสำปะหลัง สิ่งทอ ญี่ปุ่น จะเลือกผลิตเครื่องยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
2. ความชำนาญเป็นพิเศษ (Specialization) การผลิตสินค้าที่ถนัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เกิดความชำนาญ
3. ประสิทธิภาพ (Productivity) การผลิตสินค้าด้วยความชำนาญทำให้สินค้ามีคุณภาพสูง
4. ปัจจัยการผลิตเอื้ออำนวย (Factors Endowment) แต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศอย่างเหมาะสม
สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ
1. ปริมาณและชนิดของปัจจัยการผลิตการค้าระหว่างประเทศ เกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่างๆ มีปัจจัยหรือทรัพยากรการผลิตในปริมาณไม่เท่ากัน หรือไม่เหมือนกัน ปัจจัยการผลิตใด ถ้ามีมากจะมีผลทำให้ราคาปัจจัยนั้นต่ำและจะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิต และราคาสินค้าต่ำลงไปด้วย
2. ความเหมาะสมของปัจจัยการผลิต ปัจจัยการผลิตมิได้มีคุณสมบัติเหมือนกันทั้งหมด เช่น ประเทศที่มีแรงงานมาก มิได้หมายความว่า จะต้องสามารถผลิตและส่งออกสินค้าทุกชนิดที่เน้นแรงงาน สินค้าบางชนิดต้องการแรงงานที่มีประสิทธิภาพ หรือความชำนาญเป็นพิเศษ
3. ปริมาณการผลิตการผลิตในปริมาณมาก จะมีผลทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง แต่การผลิตในปริมาณมาก ๆ นั้น จะต้องมีตลาดรองรับผลผลิต ตลาดภายในประเทศ อาจจะมีขนาดไม่ใหญ่พอที่จะรองรับผลผลิตทั้งหมดได้ จึงต้องมีตลาดต่างประเทศไว้รองรับผลผลิตส่วนเกิน
4. ต้นทุนการขนส่ง ค่าขนส่งวัตถุดิบ และค่าขนส่งสินค้าสำเร็จรูป เป็นต้นทุนส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของสินค้า ดังนั้นความแตกต่างในต้นทุนการขนส่งจะก่อให้เกิดความแตกต่างในราคาสินค้าเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งการค้าระหว่างประเทศ
ความหมาย : ธุรกิจระหว่างประเทศเป็นกิจกรรมทางการค้า การผลิต และการลงทุนที่กระทำระหว่างท้องถิ่นหนึ่งกับอีกท้องถิ่นหนึ่งซึ่งอยู่ภายใต้การปกครอง และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน หรือกิจการที่มีการดำเนินงานข้ามเส้นพรมแดนระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้า และ บริการ การเคลื่อนย้ายเงินทุน บุคลากร วิทยาการ หรือ การแนะนำให้ความช่วยเหลือในการปฏิบัติงานในต่างประเทศ โดยมีเงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งปัจจุบันมีสถาบันการเงินและธนาคารเป็นตัวกลางอำนวยความสะดวกทางด้านการเงินต่างๆ เช่น การชำระค่าสินค้า การโอนเงิน การเรียกเก็บเงิน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเงินตราและการประกันความเสี่ยง
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ธุรกิจต่างๆที่ดำเนินการระหว่างประเทศ จะต้องเผชิญกับปัญหาทางการเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อมีธุรกิจระหว่างประเทศเกิดขึ้น ผู้ประกอบธุรกิจเหล่านั้น ก็จะหาเงินตราสกุลที่เป็นที่ยอมรับมาใช้ซื้อ-ขาย รับชำระหรือจ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการ จึงอาจกล่าวได้ว่า ธุรกิจระหว่างประเทศเจริญรุ่งเรืองขึ้นมากเท่าใด การธนาคารระหว่างประเทศก็เจริญรุ่งเรืองมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากการเงินและการธนาคารระหว่างประเทศ เกิดขึ้นเพื่อบริการแก่การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศเป็นสำคัญนั่นเอง
ความสำคัญ : ธุรกิจระหว่างประเทศซึ่งมีการค้าระหว่างประเทศ การผลิตในต่างประเทศ และการลงทุนระหว่างประเทศเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ มีบทบาทมากขึ้นในการเพิ่มมาตรฐานการครองชีพของประชาชนในแต่ละประเทศ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ช่วยให้ประชาชนทั่วโลก สามารถบริโภคสินค้าต่างๆ ได้หลายชนิด ทั้งที่ผลิตเอง และไม่สามารถผลิตได้เอง
การจัดการทางการเงิน เน้นในเรื่องวิธีการที่จะตัดสินใจทางการเงินของบริษัท เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน โครงสร้างเงินทุน นโยบายการจ่ายเงินปันผล และการบริหารเงินทุนหมุนเวียน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของบริษัทที่ตั้งไว้ สำหรับประเทศพัฒนาแลัว ซึ่งตลาดทุนได้รับการพัฒนาในระดับสูง การสร้างความมั่งคั่งสูงสุดสำหรับผู้ถือหุ้น ถือเป็นเป้าหมายที่สำคัญของกิจการ อย่างไรก็ตาม อาจมีคำถามว่า ทำไมจึงจำเป็นต้องศึกษา ถึงเรื่องการเงินระหว่างประเทศ ตอบคำถามข้อนี้แบบตรงไปตรงมาคือ ปัจจุบันนี้เราอยู่ในเศรษฐกิจโลกที่มีการรวมตัวกันสูง และมีลักษณะของโลกาภิวัตน์สูงนั่นเอง การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างประเทศ เป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้รูปแบบการบริโภคทั่วโลกเป็นแบบไร้พรมแดนมากขึ้น จะเห็นได้จากที่ผู้บริโภคสหรัฐฯ ได้น้ำมันดิบจากการนำเข้าจากซาอุดีอาระเบีย และไนจีเรีย โทรทัศน์และเครื่องใช้อิเล็คโทรนิคส์ต่างๆ จากประเทศญี่ปุ่น รถยนตร์จากเยอรมันนี เสี้อผ้าจากประเทศจีน รองเท้าจากอินโดนีเซีย และไวน์จากประเทศฝรั่งเศส ในขณะที่สหรัฐฯ เองก็ส่งสินค้าต่างๆที่ผลิตได้ไปขาย เช่น เครื่องบิน ซอฟท์แวร์ ภาพยนตร์ ยีนส์ ข้าวสาลี เป็นต้น
ในทำนองเดียวกัน การผลิตสินค้าและบริการก็มีความเป็นโลกาภิวัตน์สูงด้วย ซึ่งเป็นผลมาจากความพยายามอย่างไม่ลดละของบริษัทข้ามชาติ ในการแสวงหาวัตถุดิบ และแหล่งที่จะผลิตสินค้าทั่วโลก ซึ่งจะทำให้ต้นทุนลดต่ำลง และกำไรเพิ่มสูงขึ้น เช่น บริษัท IBM ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์พีซีสู่ตลาดโลก อาจมีโรงงานประกอบชิ้นส่วนในมาเลเซีย โดยนำส่วนประกอบจากแหล่งต่างๆ เช่น จอมอนิเตอร์ที่ผลิตในไต้หวัน คีบอร์ดจากเกาหลี ชิพจากสหรัฐฯ และซอฟท์แวร์ที่พัฒนาโดยวิศวกรอินเดีย และอเมริกัน เป็นต้น เราจะพบว่าปัจจุบันแนวโน้มที่สินค้าจะผลิตจากแหล่งเดียวทั้งหมด มีน้อยลงเต็มที
ในช่วงทศวรรษหลังๆ นี้ ด้านตลาดการเงินระหว่างประเทศ มีการรวมตัวกันสูงขึ้น ด้วยพัฒนาาการน ้ทำให้นักลงทุนสามารถกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ ไปในตลาดระหว่างประเทศต่างๆ ในทศวรรษที่ผ่านมาพบว่านักลงทุนสหรัฐฯได้เทเงินทุนจำนวนมหาศาลเข้าสู่ตลาดต่างประเทศในรูปกองทุนรวม (Mutual Funds) เมื่อเดือนเมษายน 1996 สินทรัพย์รวมของกองทุนดังกล่าวได้ขึ้นสูงถึง 148.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากที่มีอยู่เพียง 2.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 1985 ในขณะเดียวกัน นักลงทุนญี่ปุ่นได้เข้ามาลงทุนอย่างหนักในตลาดเงินสหรัฐฯ และตลาดต่างประเทศเพื่อใช้เงินส่วนที่เกินดุลการค้าจำนวนมากออกไป นอกจากนี้ บริษัทขนาดใหญ่จำนวนมาก เช่น IBM, Daimler-Benz, Sony ได้มีหุ้นออกจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ซึ่งทำให้หุ้นชองบริษัทเหล่านั้น มีการซื้อขายและระดมเงินทุนจากต่างประเทศ ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า บริษัท Daimler-Benz ที่เข้าไปลงทุนในจีน เงินทุนส่วนหนึ่งมาจากนักลงทุนอเมริกัน ซึ่งซื้อหุ้นที่ออกจำหน่ายในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ค ไม่น่าสงสัยเลยว่าปัจจุบันซึ่งเราอยู่ในโลกซึ่งหน้าที่ทางเศรษฐกิจหลักทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นการค้า การผลิต และการลงทุน มีความเป็นโลกาภิวัตน์สูง จึงจำเป็นที่ผู้บริหารการเงินจะต้องทำความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการการเงินในมิติระหว่างประเทศด้วย ดังนั้น การมีความรู้ในเรื่องนี้จะมีประโยชน์ 2 ประการหลักคือ
1. สามารถช่วยผู้บริหารทางด้านการเงินตัดสินใจในเหตุการณ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นว่าจะมีผลกระทบต่อบริษัทอย่างไร และ ควรจะใช้กลยุทธ์ใดที่จะแก้ไขสถานการณ์หรือป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับบริษัท
2. ช่วยให้ผู้บริหารสามารถคาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้าในอนาคตได้ และ สามารถดำเนินการหรือตัดสินใจที่จะทำอะไรที่เป็นประโยชน์และ เป็นผลกำไรของบริษัทก่อนที่เหตุการณ์ต่างๆจะเกิดขึ้น เช่น การคาดการณ์ในอัตราแลกเปลี่ยน, อัตราดอกเบี้ย, อัตราเงินเฟ้อ และ รายได้ประชาชาติ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงในด้านการเมือง
ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการเงินระหว่างประเทศ
แม้ว่าจะสามารถเข้าใจถึงความสำคัญของการศึกษาเกี่ยวกับการเงินระหว่างประเทศแล้วก็ตาม แต่อาจยังคงข้องใจว่า อะไรเป็นประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการเงินระหว่างประเทศ ว่าการเงินระหว่างประเทศ แตกต่างจากการเงินในประเทศอย่างไร ในประเด็นดังกล่าวนี้พบว่ามีปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ
1) ความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยนและความเสี่ยงทางการเมือง
2) ความไม่สมบูรณ์ของตลาด และ
3) โอกาสที่เปิดกว้างขึ้น
ซึ่งปัจจัยทั้ง 3 ประการนี้ สืบเนื่องมาจากการที่ประเทศต่างๆ มีสิทธิและอำนาจที่จะผลิตเงินตราออกมาใช้ กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจของตนเองขึ้นมา กำหนดรูปแบบการจัดเก็บภาษี และอัตราภาษีที่จะจัดเก็บ และระเบียบข้อบังคับต่างๆ เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายแรงงาน สินค้า และเงินทุนระหว่างประเทศนั่นเอง
ดังนั้น การเงินและการธนาคารระหว่างประเทศ มีความสำคัญต่อนักธุรกิจ หรือ ผู้บริหาร นักลงทุน และต่อประชาชนทั่วๆไปของประเทศในทุกระดับ เนื่องจากการเงินระหว่างประเทศนั้น เกิดขึ้นอำนวยความสะดวกแก่การผลิต การลงทุน และการค้าระหว่างประเทศนั่นเอง จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน หากขาดการเงินแล้วการดำเนินการลงทุน และการค้าแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย การแลกเปลี่ยนที่เรียกว่า Barter System นั้น จะต้องมีความต้องการในสินค้า และ ปริมาณซึ่งเป็นที่เห็นพ้อง และพอใจกันทั้ง 2 ฝ่าย อันจะเกิดขึ้นได้ยาก โดยในปัจจุบันนี้เศรษฐกิจมีความก้าวหน้าขึ้นมาก การค้าขายระหว่างประเทศโดยแท้จริง มีทั้งการแลกเปลี่ยนสินค้ากับสินค้า แต่โดยส่วนใหญ่นั้นการค้าจะต้องมีการชำระเงินค่าสินค้าด้วยเงินตรา ผู้ขายสินค้าหรือบริการ จะต้องยอมรับสินทรัพย์ทางการเงินบางชนิด ที่เขาเต็มใจจะถือไว้ หรือสามารถนำไปใช้ซื้อขายสินค้าต่อไปได้
(2). แนวโน้มและบทบาทของธุรกิจการเงินระหว่างประเทศ
ในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมาได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายประการในโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และ ระบบการเงินของโลก ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ และ ยังคงมีผลสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว พอที่จะสรุปให้เห็นเป็นทิศทาง หรือแนวโน้มที่สำคัญ ของธุรกิจการเงินและการธนาคารระหว่างประเทศได้ดังนี้
1.บริษัทข้ามชาติ (Multinational Corporations: “MNCs”) มีบทบาทและความสำคัญมากขึ้น :
บริษัทธุรกิจหลายแห่งที่เคยประกอบธุรกิจระดับท้องถิ่นหรือเฉพาะภายในประเทศ(Domestic Companies) ได้ขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจทั้งด้านการส่องออก และ การขยายฐานการผลิตสินค้าไปยังหลายๆ ประเทศในภูมิภาคต่างๆ จนทำให้บริษัทเปลี่ยนฐานะไปเป็นบริษัทข้ามชาติที่มีเครือข่ายธุรกิจโยงใยอยู่ทั่วโลก เช่น บริษัท IBM APPLE MICROSOFT SHELL เป็นต้น ในส่วนของบริษัทสัญชาติไทยที่เคยเป็นบริษัทท้องถิ่นแต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนฐานะเป็นบริษัทข้ามชาติไปแล้ว เช่น บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) บริษัทในเครือยูไนเต็ดคอมมูนิเคชั่น (UCOM) และกลุ่มบริษัทชินวัตร (SHIN) เป็นต้น การขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั้งจำนวน และ ขอบเขตการประกอบธุรกิจของบริษัทข้ามชาติดังกล่าวข้างต้น เป็นแนวโน้มที่ปรากฏค่อนข้างชัดเจนในทุกภูมิภาคของโลก ด้วยเหตุที่การประกอบธุรกิจข้ามชาติมีลักษณะที่แตกต่าง และซับซ้อนกว่าการทำธุรกิจในระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องของการค้าที่เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศ และการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน จึงทำให้การบริหารการเงิน และการธนาคารระหว่างประเทศ ได้เพิ่มความสำคัญยิ่งขึ้นมาเป็นลำดับ ตามบทบาทและความสำคัญของบริษัทข้ามชาติ
2. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของโลกได้เปลี่ยนจากระบบคงที่ (Fixed Exchange Rate) มาเป็นระบบลอยตัว (Floating Exchange Rate) ทำให้ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มสูงขึ้น :
นับตั้งแต่ปี คศ. 1971 ประเทศที่เป็นเจ้าของเงินตราสกุลหลักๆของโลก เช่น ดอลลาร์-สหรัฐฯ เยน-ญี่ปุ่น มาร์ก-เยอรมันนี ปอนด์-อังกฤษ และ ฟรังก์-ฝรั่งเศส สวิสฯ ไ ด้เปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบคงที่ (Fixed Exchange Rate) มาเป็นระบบลอยตัว (Float ing Exchange Rate) โดยปล่อยให้อุปสงค์ และอุปทานในตลาดเป็นตัวกำหนดราคาอัตราแลกเปลี่ยน จากนั้นเป็นต้นมา ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดเงินตราต่างประเทศ ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ผู้ประกอบการที่มีรายการซื้อ-ขายสินค้าระหว่างประเทศ มีโอกาสเกิดผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ ด้วยเหตุนี้ผู้ประกอบการธุรกิจระหว่างประเทศ จึงควรรู้จัก และทำความเข้าใจในเรื่องของความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งสามารถบริหารความเสี่ยงโดยอาศัยเครื่องมือทางการเงินต่างๆ ที่ได้คิดค้นขึ้นมา เพื่อใช้ในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน อันได้แก่ Forward, Swap, Currency Futures และ Options เป็นต้น
3.ตลาดเงิน และ ตลาดทุนในภูมิภาคต่างๆของโลกมีการรวมตัวกันมากขึ้น (Globalising Of Money And Capital Markets) :
“โลกาภิวัตน์” (Globalization) ได้กลายเป็นคำยอดนิยมสำหรับยุคสมัยนี้ ที่ใช้ในการอธิบายถึงสภาพของโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านข้อมูลข่าวสาร ธุรกิจ การค้า การผลิต และการเงิน กระแสของการเปิดเสรีทางการเงิน ได้ผลักดันให้ตลาดเงินและตลาดทุนในภูมิภาคต่างๆ มีความเชื่อมโยงและมีการรวมตัวกันมากขึ้น รัฐบาลของประเทศต่างๆ ได้มีมาตรการในการผ่อนคลายกฎระเบียบ และการควบคุมการปริวรรตเงินตรา การโอนเงินเข้าและออกนอกประเทศ รวมทั้งกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ของประเทศตน เกี่ยวกับการเข้ามาถือหุ้นของชาวต่างประเทศ
การเปิดเสรีมากขึ้นของตลาดเงินดังกล่าว ทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นในบริการทางการเงิน ส่งผลให้มีการนำนวัตกรรมทางการเงินในลักษณะของเครื่องมือต่างๆ ทางการเงินออกมาใช้ เช่น Currency Futures, Currency Options, Muticurrency Bonds, กองทุนรวมระหว่างประเทศ, กองทุนในประเทศ, และ Foreign Stock Index Futures and Options นอกจากนี้ บริษัทข้ามชาติยังมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงของตลาดการเงินโลก โดยการนำหุ้นออกจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ บริษัทชั้นนำที่ไม่ใช่ของอเมริกันได้แก่ Seagram, Sony, Toyota Motor, Fiat, KLM, British Petrolium, Glaxo, และ Elf Acquitaine ได้ถูกนำออกซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์ค ในขณะเดียวกันบริษัทอเมริกัน เช่น IBM, GM ได้นำออกซื้อขายในตลาดหุ้น Brussels, Frankfurt, London, และ Paris การที่หลักทรัพย์ได้นำออกจำหน่ายในตลาดระหว่างประเทศเช่นนี้ ทำให้นักลงทุนได้มีโอกาสซื้อและขายหลักทรัพย์ต่างประเทศได้เช่นเดียวกับหลักทรัพย์ในประเทศ ทำให้การลงทุนระหว่างประเทศเป็นไปได้สะดวกมากขึ้น
ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการสื่อสารและคอมพิวเตอร์มีส่วนสำคัญต่อการขยายตัวของตลาดการเงินโลก ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีนี้ช่วยให้นักลงทุนทั่วโลกสามารถได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วฉับพลันซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจลงทุน ทำให้ต้นทุนของข้อมูลข่าวสารลดลงอย่างมาก นอกจากนี้ กระบวนการในการทำธุรกรรมและการส่งคำสั่งซื้อด้วยระบบอิเล็คโทรนิคส์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ช่วยลดต้นทุนของธุรกรรมระหว่างประเทศลงมาก อันเป็นผลขงการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและการเปิดเสรีของตลาดการเงินนั่นเอง จะเห็นได้ว่าการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศได้เพิ่มปริมาณมากขึ้นในช่วงระยะหลังนี้
ขณะเดียวกัน การค้าระหว่างประเทศนั้น ความเชื่อมโยงระหว่างประเทศกับเศรษฐกิจภายในประเทศได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางประเทศ เช่น เยอรมันนี และไต้หวัน ในขณะที่ประเทศแถบละตินอเมริกา เช่น อาเจนตินา บราซิล และเม็กซิโก อัตราการขยายตัวของการส่งออกต่อผลผลิตมวลรวมประชาชาติอยู่ในระดับต่ำกว่ามาก ประเทศเหล่านั้นเป็นประเทศที่เคยเน้นการใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบปิด และแบบคุ้มกันมาในอดีต อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ได้เริ่มหันมาเปิดประเทศมากขึ้นเนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของการค้าและการเชื่อมโยงระหว่างประเทศมากขึ้น การแบ่งแยกตลาดของแต่ละประเทศหรือภูมิภาคที่เดิมมีอยู่ค่อนข้างชัดเจนจึงน้อยลง ถึงแม้ว่าจะมีการแบ่งแยกประเทศต่างๆออกจากกันด้วยเส้นแบ่งเขตแดนทางภูมิศาสตร์ แต่การแบ่งเขตแดนดังกล่าวได้เลือนหายไปจนเกือบหมดเมื่อมองจากมุมมองของตลาดเงินและตลาดทุน อย่างเช่น ในภูมิภาคยุโรปมีการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศในเครือสหภาพยุโรป (European Union : “EU”) 15 ประเทศ ซึ่งได้พัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกันอย่างใกล้ชิด จนถึงระดับที่มีการใช้เงินตราสกุลเดียวกัน โดยเริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 1999 ส่วนกลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศ ภายใต้ชื่อสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ก็ได้พัฒนาความร่วมมือกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และ สังคม จนมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ในอีกหลายๆประเทศซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย ก็ได้มีการอนุญาตให้สถาบันการเงินภายในประเทศสามารถทำกิจการวิเทศธนกิจ (International Banking Facilities : “BIFs”) จึงเป็นการช่วยให้ผู้ประกอบการในประเทศนั้นๆ สามารถระดมเงินทุนจากแหล่งต่างๆ ได้สะดวกขึ้น และ ยังมีต้นทุนของเงินทุนที่ต่ำลงด้วย
โอกาสที่มาพร้อมกับแนวโน้มต่างๆ
1. บริษัทข้ามชาติยังคงเจริญเติบโตและขยายกิจการได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลหลายประการ คือ
1.1 ความไม่สมบูรณ์ของตลาด (Market Imperfectation)
เราสามารถใช้ทฤษฎีการได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (The Theory of Comparative Advantage) มาอธิบายความสามารถในการทำกำไรของบริษัทข้ามชาติ (MNCs) ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของตลาดได้ โดยทฤษฎีดังกล่าวมีใจความสำคัญว่า ประเทศใดมีความได้เปรียบในการผลิตสินค้าชนิดใด (ผลิตสินค้าได้คุณภาพดีกว่าที่ต้นทุนเท่ากัน หรือ ผลิตสินค้าได้มีคุณภาพเท่ากันแต่มีต้นทุนที่ต่ำกว่า) ก็ควรเป็นผู้ผลิตสินค้า ชนิดนั้น แล้วนำมาแลกเปลี่ยน (ซื้อ-ขาย) กับสินค้าที่ประเทศอื่นผลิตแล้วมีความได้เปรียบกว่า หลักการนี้จึงเป็นการอธิบายถึงที่มาของการค้าขายระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ความไม่สมบูรณ์ของตลาด ยังอาจเกิดจากหลายสาเหตุเช่น การตั้งกฎเกณฑ์ทางการค้าระหว่างประเทศขึ้นมา ซึ่งรวมถึงการตั้งกำแพงภาษี เพื่อกีดกันการนำเข้า หรือการกำหนดโควต้าการนำเข้าสินค้าบางประเภท เป็นต้น
การที่บริษัทข้ามชาติสามารถหาประโยชน์จากความไม่สมบูรณ์ของตลาดได้มากกว่าบริษัทท้องถิ่น สามารถอธิบายได้ด้วยปัจจัยต่างๆดังต่อไปนี้.
- การประหยัดต่อขนาด (Economies of Scales)
- ความเชี่ยวชาญในการจัดการและทักษะทางเทคนิค (Managerial & Technical Skill)
- ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ (Product Differentiation)
- ความแข็งแกร่งทางการเงิน (Financial Strength)
1.2 การกระจายความเสี่ยง (Risk Diversification) ซึ่งมีปัจจัยต่างๆ ดังนี้
- รายได้ (Earnings)
- กระแสเงินสด (Cash Flows)
- ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Exposures)
- อำนาจในการต่อรองเพิ่มขึ้น (Increase Bargaining Power)
2. ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นโอกาสในการแสวงหาประโยชน์ได้
ถึงแม้ว่าในปี ค.ศ.1973 จะมีการประกาศให้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Floating Exchange Rate) เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ที่เป็นทางการสำหรับเงินตราสกุลหลักๆของโลก อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายประเทศที่ใช้ระบบการเงินที่แตกต่างกันไป ซึ่งมีทั้งระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate) ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบจัดการ (Managed Floating) และ ระบบตะกร้าเงิน (Basket of Currencies) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ นับตั้งแต่เริ่มใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวจนถึงปัจจุบัน ได้เกิดความผันผวนในค่าเงินสกุลต่างๆ เป็นระยะๆ โดยมีความรุนแรงต่างกัน ดังนั้น กิจการที่ประกอบธุรกิจข้ามชาติจึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม สภาวะความ ผันผวนของค่าเงินนี้ได้เปิดโอกาสในการสร้างกำไรให้แก่บริษัทข้ามชาติ เช่น... บริษัทข้ามชาติอาจย้ายฐานการผลิตสินค้า จากประเทศที่ค่าเงินแข็งเกินความเป็นจริง ไปยังประเทศที่มีค่าเงินอ่อนกว่าความเป็นจริง ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มความได้เปรียบ ในการส่งสินค้าออกขายยังตลาดโลก นอกจากนี้บริษัทยังสามารถใช้ความผันผวนของค่าเงินในการทำกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนให้กับบริษัทได้อีกด้วย ถึงแม้ว่ากำไรในลักษณะนี้ ไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการข้ามชาติ สามารถปรับเปลี่ยนสถานการณ์ที่เป็นอุปสรรค (Threat) ของบริษัท ให้กลับเป็นโอกาส (Opportunity) ที่ดีของกิจการได้
3. การเปิดเสรีทางการเงินทำให้ต้นทุนของเงินทุน (Cost of Capital) ต่ำลง
สำหรับประเทศที่ยังไม่เปิดกว้างขวางในเรื่องระบบการเงินนั้น แหล่งของเงินทุนที่ใช้สำหรับการลงทุน มักจำกัดอยู่เพียงเงินออมของประชาชนในประเทศ ซึ่งอาจไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนาความเจริญของประเทศให้เป็นไปตามเป้าหมาย แหล่งเงินทุนนอกเหนือจากเงินออมภายในประเทศ คือการใช้เงินทุนจากภายนอกประเทศ ดังนั้น การเปิดเสรีทางการเงินนับเป็นการสร้างโอกาส ในการระดมเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำจากแหล่งต่างๆภายนอกประเทศเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาความเจริญภายในประเทศได้ อย่างไรก็ตาม ในการที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง จะเปิดเสรีทางการเงินนั้นควรเริ่มทำด้วยความระมัดระวัง โดยต้องแน่ใจว่าโครงสร้างทางการเงินภายในประเทศ มีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะรองรับ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้าหากประเทศขาดความพร้อมแล้ว การเปิดเสรีทางการเงินจะสร้างปัญหาต่างๆ ตามมาอย่างมากมาย เช่น การเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ประเทศไทย ถูกกดดันให้เปิดเสรีทางการเงินก่อนเวลาอันสมควร จนทำให้เงินทุนจากภายนอกประเทศหลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทย และถูกจัดสรรไปใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ในที่สุดวิกฤตการณ์ดังกล่าวได้ลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ในเอเซียจนกลายเป็นปัญหาระดับภูมิภาค และอาจกลายเป็นปัญหาระดับโลกได้ ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดจากการเปิดเสรีทางการเงินคือ โอกาสในการระดมเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำ ทำให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนจากประเทศหนึ่งที่มั่งคั่ง ไปยังประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนในการพัฒนาประเทศ โอกาสดังกล่าวมิได้ผูกขาดอยู่เฉพาะในกลุ่มบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ยังได้เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทขนาดกลาง หรือบริษัทท้องถิ่นที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนที่มีต้นทุนไม่สูงนัก ทั้งนี้เพื่อนำไปขยาย และพัฒนากิจการ ให้สามารถแข่งขัน และยืนหยัดอยู่ในธุรกิจต่อไปได้
(3) แนวทางการศึกษาการเงินและการธนาคารระหว่างประเทศ
หน้าที่ของผู้บริหารการเงิน จะต้องกำหนดขนาดเงินทุนที่เหมาะสมในแต่ละกิจการ การหาแหล่งเงินทุนที่ค่าของทุนต่ำ และใช้เงินทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด วิชาการเงินและการธนาคารระหว่างประเทศ จะขยายขอบเขตสภาพแวดล้อมทางการเงินกว้างออกไป ครอบคลุมตลาดเงินของทุกประเทศ รวมทั้งระบบการเงิน และ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ ดังนั้นการศึกษาจะเน้นทางด้านทฤษฎี แนวคิดทางการบริหารการเงิน ตลอดจนเครื่องมือทางการเงิน ซึ่งได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมภายใต้สภาพแวดล้อมทางการเงินที่กว้างขึ้น สลับซับซ้อนขึ้น เพื่อที่จะหาผลประโยชน์จากโอกาสทางการเงินซึ่งมีมากขึ้น นอกจากนี้ยังศึกษาถึงเทคนิคทางการเงิน เครื่องมือทางการเงินสำหรับ ป้องกันความเสี่ยงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)