วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

History of the People's Republic of China

ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน

เหมาเจ๋อตุงประกาศตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนที่จัตุรัสเทียนอันเหมินและปกครองระบอบคอมมิวนิสต์
สงครามกลางเมือง (Chinese Civil War) ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับพรรคก๊กมินตั๋ง สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2492 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยจบลงด้วยการที่ พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เข้าปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนพรรคก๊กมินตั๋งได้เข้าปกครองไต้หวัน และเกาะบางเกาะในมณฑลฝูเจี้ยน ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 เหมาเจ๋อตุง ได้ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน และปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ การปกครองในสมัยของเหมานั้น เข้มงวดและกวดขัน แม้กระทั่งชีวิตประจำวันของประชาชน
หลังจากที่เหมาเจ๋อตุงถึงแก่อสัญกรรม เติ้งเสี่ยวผิงก็ได้ขึ้นสู่อำนาจ โดยจีนยังคงอยู่ในระบอบคอมมิวนิสต์ หลังจากนั้นรัฐบาลจีนจึงได้ค่อยๆ ลดการควบคุมชีวิตส่วนตัวของประชาชน และพยายามที่จะปฏิรูประบบเศรษฐกิจของตนให้เป็นไปตามกลไกตลาด

การปฏิวัติ


เจียง ไคเช็ก เป็นผู้นำของจีนระหว่าง พ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2492

การปฏิวัติครั้งแรก (พ.ศ. 2454)

การปฏิวัติครั้งแรกของจีนเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ซึ่งเป็นการโค่นล้มอำนาจการปกครองของราชวงศ์ชิง โดยการนำของ ดร. ชุน ยัตเซน หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง เป็นผลทำให้จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในที่สุด สาเหตุที่ก่อให้เกิดการโค่นล้มอำนาจครั้งนี้น่าจะมาจากความเสื่อมโทรมของสภาพสังคมจีน ผู้นำประเทศจักรพรรดิแมนจูไม่มีอำนาจกำลังพอที่จะปกครองประเทศได้ ซึ่งตลอดระยะเวลาปกครอง 268 ปี (พ.ศ. 2187 – 2455) มีแต่การแย่งชิงอำนาจในหมู่ผู้นำราชวงศ์ ด้วยเหตุนี้ราษฎรส่วนมากจึงตกอยู่ในสภาพยากจน ชาวไร่ ชาวนาถูกขูดรีดภาษีอย่างหนัก ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของที่ดิน ชาวต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ แผ่นดินจีนถูกคุกคามจากต่างชาติ โดยเฉพาะชาติมหาอำนาจตะวันตก และญี่ปุ่น ซึ่งจีนทำสงครามต่อต้านการรุกรานของกองกำลังต่างชาติเป็นฝ่ายแพ้มาโดยตลอด ทำให้คณะปฏิวัติไม่พอใจระบอบการปกครองของราชวงศ์แมนจู
เพื่อความสำเร็จในการแก้ปัญหาของของประเทศชาติ ดร. ซุน ยัตเซ็น ผู้นำฯ จึงได้ประกาศอุดมการณ์ของการปฏิวัติ 3 ประการ เรียกว่า ลัทธิไตรราษฎร์ มีหัวข้อดังนี้
  1. ประชาธิปไตย มีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย และมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
  2. ชาตินิยม ต้องขับไล่อำนาจและอิทธิพลของต่างชาติออกไปจากจีน
  3. สังคมนิยม มีการจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกร

การปฏิวัติครั้งที่สอง (พ.ศ. 2492)

การปฏิวัติของจีนครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) เป็นการปฏิวัติภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง (ค.ศ. 1939 – 1945) ภายใต้การนำของ เหมา เจ๋อตุง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย เข้าสู่ระบอบสังคมนิยม หรือคอมมิวนิสต์ โดยนับวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ซึ่งเป็นวันสถาปนาประเทศจีนใหม่หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า "สาธารณรัฐประชาชนจีน" โดยการปฏิวัติมีสาเหตุซึ่งสรุปได้ดังนี้
  1. ปัญหาความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจและความยากจนของประชาชน ซึ่งรัฐบาลของประธานาธิบดี เจียง ไคเช็ค ไม่สามารถแก้ปัญหาได้
  2. การเผยแพร่อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ในประเทศจีน เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาความยากจนของราษฎร โดยให้ความสำคัญแก่ชนชั้นผู้ใช้แรงงานและเกษตรกร และเป็นศัตรูกับชนชั้นนายทุน

การปฏิวัติครั้งที่สองของจีนมีความสำเร็จ สรุปได้ดังนี้
  1. ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุคของ เหมา เจ๋อตุง
    รัฐบาลได้ยึดที่ดินทำกินของเอกชนมาเป็นของรัฐบาล และใช้ระบบการผลิตแบบนารวม ชาวนามีฐานะเป็นแรงงานของรัฐ ทำให้ขาดความกระตือรือร้นเพราะทุกคนได้รับผลตอบแทนเท่ากัน ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนส่วนใหญ่มีสภาพลำบากยากจนเหมือนๆ กัน
  2. ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุคของ เติ้ง เสี่ยวผิง
    เป็นยุคที่จีนปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นระบบตลาด หรือทุนนิยม โดยอมรับแนวทางทุนนิยมของชาติตะวันตกมากขึ้น เช่น เปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ เพื่อให้คนจีนมีงานทำ และอนุญาตให้ภาคเอกชนดำเนินธุรกิจการค้าได้ เป็นต้น ทั้งนี้ ระบอบการปกครองยังคงเป็นคอมมิวนิสต์เหมือนเดิม
นโยบาย “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ในสมัยของ “เติ้ง เสี่ยวผิง” หมายถึง มีประเทศจีนเพียงประเทศเดียว แต่มีระบบเศรษฐกิจและการปกครอง 2 แบบ ได้แก่
  1. ระบอบคอมมิวนิสต์ สำหรับจีนแผ่นดินใหญ่ (ไม่รวมไต้หวัน)
  2. ระบอบประชาธิปไตยและระบอบทุนนิยมเสรี สำหรับฮ่องกงและมาเก๊า

ผลกระทบของการปฏิวัติจีนครั้งที่สอง คือ
  1. การปฏิวัติของ เหมา เจ๋อตง เป็นแบบอย่างในการปฏิวัติของกระบวนการคอมมิวนิสต์ในประเทศกำลังพัฒนา ทั้งในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ โดยเฉพาะการใช้ยุทธศาสตร์ “ป่าล้อมเมือง” โดยเริ่มจากการปฏิวัติของเกษตรในชนบทและค่อยๆ ขยายเข้าไปสู่เมือง
  2. การปฏิรูปเศรษฐกิจตามแนวของ เติ้ง เสี่ยวผิง โดยยอมรับระบบทุนนิยมของโลกตะวันตก เป็นตัวอย่างความสำเร็จของการแยกระบบการปกครองออกจากระบบเศรษฐกิจ

เมืองหลวงของจีน

ระยะการปกครองของจีนตั้งแต่ อดีต-ปัจจุบัน มีการเปลี่ยนเมืองหลวง สามารถจำแนกเมืองหลวงได้ดังนี้

ผู้ปกครองเมืองหลวงปี
ราชวงศ์ซางอิน (殷)1350 ปีก่อน ค.ศ. - 1046 ปีก่อน ค.ศ.
ราชวงศ์โจวตะวันตกเฮา (鎬)1046 ปีก่อน ค.ศ. - 771 ปีก่อน ค.ศ.
ราชวงศ์โจวตะวันออกลั่วหยาง (洛陽)770 ปีก่อน ค.ศ. - 256 ปีก่อน ค.ศ.
ราชวงศ์ฉินเสียนหยาง (咸陽)221 ปีก่อน ค.ศ. - 206 ปีก่อน ค.ศ.
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกฉางอาน (長安)206 ปีก่อน ค.ศ. - ค.ศ. 9
ราชวงศ์ชินฉางอาน (長安)พ.ศ. 551 - พ.ศ. 566 (ค.ศ. 8 - ค.ศ. 23)
ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกลั่วหยาง (洛陽)พ.ศ. 568 - พ.ศ. 737 (ค.ศ. 25 - ค.ศ. 194)
ราชวงศ์ฮั่นสมัยเฉาเชาซวี่ฉาง (许昌)พ.ศ. 737 - พ.ศ. 763 (ค.ศ. 194 - ค.ศ. 220)
ราชวงศ์จิ้นตะวันตกลั่วหยาง (洛陽)พ.ศ. 808 - พ.ศ. 859 (ค.ศ. 265 - ค.ศ. 316)
ราชวงศ์จิ้นตะวันออกเจียนขั่ง (建康)พ.ศ. 860 - พ.ศ. 963 (ค.ศ. 317 - ค.ศ. 420)
ราชวงศ์สุยต้าซิง (大興)พ.ศ. 1124 - พ.ศ. 1161 (ค.ศ. 581 - ค.ศ. 618)
ราชวงศ์ถังฉางอาน (長安)พ.ศ. 1161 - พ.ศ. 1450 (ค.ศ. 618 - ค.ศ. 907)
ราชวงศ์ซ่งเหนือไคฟง (開封)พ.ศ. 1503 - พ.ศ. 1670 (ค.ศ. 960 - ค.ศ. 1127)
ราชวงศ์ซ่งใต้หลินอัน (臨安)พ.ศ. 1670 - พ.ศ. 1822 (ค.ศ. 1127 - ค.ศ. 1279)
ราชวงศ์หยวนต้าตู (大都)พ.ศ. 1807 - พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1264 - ค.ศ. 1368)
ราชวงศ์หมิงนานกิง (南京)พ.ศ. 1911 - พ.ศ. 1963 (ค.ศ. 1368 - ค.ศ. 1420)
ราชวงศ์หมิงปักกิ่ง (北京)พ.ศ. 1963 - พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1420 - ค.ศ. 1644)
ราชวงศ์ชิงปักกิ่ง (北京)พ.ศ. 2187 - พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1644 - ค.ศ. 1911)
สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949ปักกิ่ง (北京)พ.ศ. 2455 - พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1912 - ค.ศ. 1928)
สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949นานกิง (南京)พ.ศ. 2471 - พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1928 - ค.ศ. 1937)
สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949อู่ฮั่น (武漢)พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1934 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2)
สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949ฉงชิ่ง (重慶)พ.ศ. 2480 - 2488 (ค.ศ. 1937 - 1945 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2)
สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949นานกิง (南京)พ.ศ. 2488 - 2492 (ค.ศ. 1945 - 1949)
สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949กว่างโจว (廣州)พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) (ระหว่างสงครามกลางเมืองภายในจีน)
สาธารณรัฐจีนปี 1911 - 1949ฉงชิ่ง (重慶)พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - (ระหว่างสงครามกลางเมืองภายในจีน)
สาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวันไทเป (臺北)พ.ศ. 2492 - ปัจจุบัน
สาธารณรัฐประชาชนจีนปักกิ่ง (北京)พ.ศ. 2492 - ปัจจุบัน

ตารางแสดงช่วงเวลาของราชวงศ์และยุคในประวัติศาสตร์จีน

  • ราชวงศ์จิ้น (晉) ค.ศ. 265 – 420 รวม 156 ปี แยกได้เป็น
    • จิ้นตะวันตก (西晉) ค.ศ. 265 – 316 รวม 52 ปี
    • จิ้นตะวันออก (東晉) ค.ศ. 317 – 420 รวม 103 ปี

ขอบคุณข้อมูลจาก ThaiChinese.Net

3 ความคิดเห็น: