ข้อมูลเศรษฐกิจจีน
ประเทศจีนมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว มีพลวัตรสูง และเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ (economic powerhouse) ของภูมิภาคและของโลกด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี และการพัฒนาประเทศแบบก้าวกระโดดกำลังเป็นที่จับตามองของทุกฝ่ายว่าการเติบโตนี้จะมุ่งไปในทิศทางใด
ปัจจุบันถนนทุกสายวิ่งสู่ประเทศจีนซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองลงมาจาก สหรัฐฯ และญี่ปุ่น และมีเงินทุนสำรองที่มากที่สุดในโลกโดยความสำเร็จนี้นำมาซึ่งความห่วงกังวลและโอกาส โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน
เขตเศรษฐกิจที่สำคัญของจีนมี ดังนี้
- เขตลุ่มแม่น้ำเพิร์ล (Pearl River Delta) ประกอบด้วย 9 เมือง ได้แก่ นครกวางโจว เสิ่นเจิ้น จูไห่ ตงก่วน ฝอซาน (รวมหนานไห่และซุนเต๋อ) จงซาน เจียงเหมิน หุ้ยโจว (ยกเว้น Longmen County) และจ้าวฉิ้ง (เขตเมืองจ้าวฉิ้ง Gaoyao และ Sihui)
- เขตปากน้ำแยงซี (Yangtze River Delta) รวม 16 เมือง ได้แก่ นครเซี่ยงไฮ้ 8 เมืองในมณฑลเจียงซู และ 7 เมืองในมณฑลเจ้อเจียง
- เขตเศรษฐกิจป๋อไห่ (Bohai Economic Zone) ประกอบด้วยกรุงปักกิ่ง มหานครเทียนจิน และเมืองในมณฑลเหอเป่ยและชานตง1
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คลอบคลุมมณฑลเหลียวหนิง จี๋หลิน และเฮยหลงเจียง ซึ่งในอดีตเป็นเขตอุตสาหกรรมหนักที่สำคัญของประเทศ แต่ได้รับผลกระทบหลังจากที่รัฐบาลจีนได้เริ่มดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบระบบตลาด (market economy) ส่งผลให้เขตนี้มีความล้าหลังกว่า 3 เขต ข้างต้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่จะฟื้นฟูเขตดังกล่าวให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมหนักของประเทศ เป็น new powerhouse ของประเทศเช่นเดียวกับเขตเศรษฐกิจ 3 เขตข้างต้น โดยได้กำหนดให้เหลียวหนิงเป็นศูนย์การผลิตอุปกรณ์และวัตถุดิบระดับโลก
GDP | 30.0670 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (+9% จากปี 2550) |
การค้ากับต่างประเทศ การส่งออก การนำเข้า ดุลการค้า | 2.5616 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (+17.8% จากปี 2550) 1.4285 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (+17.2%จากปี 2550) 1.1331 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (+20.8% จากปี 2550) +295.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ |
เงินทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ | 1.95 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ |
การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ | 92.395 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ |
การลงทุนของจีนในต่างประเทศ | 55.91 พันล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ |
อัตราเงินเฟ้อ | 7.8% |
2.1 ด้านการค้า
การค้าระหว่างไทยกับจีนได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปี 2551
การค้าทวิภาคีมีมูลค่า 41,261,646,573 ดอลลาร์สหรัฐ โดยแยกเป็นจีนส่งออกมาไทยมูลค่า 15,605,074,417 ดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าจากไทยมูลค่า 25,656,572,156 ดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับจีน 10,051,497,739 ดอลลาร์สหรัฐ จีนเป็นตลาดส่งออกสินค้าสำคัญเกือบทุกชนิดของไทย โดยเฉพาะสินค้าเกษตร และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นต่อไป โดยเฉพาะสินค้าประเภทวัตถุดิบ พลังงาน เคมีภัณฑ์ และสินค้าเกษตร
2.2 การลงทุน
การลงทุนระหว่างไทยกับจีนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
แม้การลงทุนของจีนในไทยจะยังไม่มากนัก และกระจายตัวตามมณฑลต่างๆ โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนระยะสั้น และมีขนาดกลาง
ในปี 2551 การลงทุนของไทยในจีนมีมูลค่า 129 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วยอุตสาหกรรมการเกษตร ป่าไม้ อสังหาริมทรัพย์ ธนาคาร เป็นต้น ส่วนการลงทุนของจีนในไทยมีมูลค่า 43.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รัฐบาลจีนมีนโยบายส่งเสริมให้นักธุรกิจจีนไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น2 โดยอาเซียนเป็นกลุ่มประเทศเป้าหมายที่นักลงทุนจีนให้ความสนใจเป็นอันดับแรกอันเนื่องจากความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์และความคล้ายคลึงของขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมระหว่างกัน ซึ่งไทยมีความได้เปรียบและจุดเด่นในด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในอันที่จะทำหน้าที่เป็นประตูสำหรับจีนไปสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค
2.3 การท่องเที่ยว
คนจีนมีรายได้สูงขึ้น และรัฐบาลจีนเริ่มที่จะอนุญาตให้คนจีนเดินทางไปต่างประเทศมากขึ้น โดยประเทศไทยมีที่ตั้งที่เหมาะสมในการรองรับการหลั่งไหลของคนจีนที่จะไปท่องเที่ยวต่างประเทศ
ตลาดนักท่องเที่ยวจีนเป็นตลาดที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเป็นตลาดนักท่องเที่ยวหลักของไทย โดยจนถึงปี 2550 มีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางไปประเทศไทยประมาณ 1,003,141 คน โดยไทยเป็นประเทศ/พื้นที่ที่ชาวจีนเดินทางไปท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับที่ 4 รองจากฮ่องกง มาเก๊า และญี่ปุ่น
ไทยกับจีนมีความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ และเชื้อชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม ประชาชนของทั้งสองประเทศมีความเข้าใจพื้นฐานที่ดีระหว่างกัน ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวไทยมีความสะดวดสบายสำหรับนักท่องเที่ยวจีน
ในปี 2553 เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนจะมีผลบังคับใช้ซึ่งจะเกิดการหลั่งไหลและเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลต่อด้านการค้า การลงทุน การเดินทาง การคมนาคมต่าง ๆ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน กับไทยด้วยการอย่างของสินค้าจากจีนสู่ไทยและต่อไปยังภูมิภาคอาเซียน
ปัจจุบันจีนได้สร้างเส้นทางเชื่อมโยงไทย และตอนใต้ของจีนโดยการคมนาคมประกอบด้วย
- การเดินทางทางบกด้วยเส้นทาง R3A ระหว่างเชียงของ-ห้วยทราย-หลวงน้ำทา-บ่อหาร-จิ่งหง-ซือเหมา-คุนหมิง (รวม 1,104 กม.) เส้นทาง R3B ระหว่างแม่สาย-เชียงตุง-เมืองลา-จิ่งหง-ซือเหมา-คุนหมิง (รวม 1,053 กม.) และเส้นทาง R9 ที่ขนส่งผ่านทางบกตลอดเส้นทาง ลำเลียงผลไม้จากประเทศไทย (จังหวัดมุกดาหาร) – ผ่านประเทศลาว (สะหวันนะเขต-แดนสะหวัน) – ประเทศเวียดนาม (ลาวบ๋าว-ฮาติน-เถื่อนฮว่า-ฮานอย-หลั่งเซิน) เข้าสู่ด่านโหย่วอี้กวน (ผิงเสียง) เขตปกครองตนเองกวางสี ประเทศจีน และขนส่งถึงตลาดซินฟาตี้ กรุงปักกิ่ง (รวม 2,031 กม.)
- การเดินทางทางน้ำ ระหว่างจิ่งหง-กวนเหล่ย-เชียงแสน (รวม 344 กม.)
- การเดินทางทางอากาศ ระหว่างกรุงเทพฯ-คุนหมิงและกรุงเทพฯ-จิ่งหง
- การเดินทางทางรถไฟ
เขตเศรษฐกิจทั้ง 3 เขตข้างต้นเป็น powerhouse ของการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจจีน โดยเป็นแหล่งรวมตัวกันของนักลงทุนต่างชาติ มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่สูง และรวดเร็วกว่าเขตอื่นของประเทศหลายเท่าตัว จึงทำให้ความเจริญทางเศรษฐกิจของจีนกระจุกตัวในเขตดังกล่าว หรือบริเวณใกล้เคียง
บริษัทจีนที่มีศักยภาพที่จะออกไปลงทุนในต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจ (State Owned Enterprises: SOEs)
http://www.thaiembbeij.org/thaibizchina/th/china-info/economy/
ภาพรวมทางการค้า
นับ แต่จีนเริ่มใช้นโยบายเปิดประเทศเมื่อปี 2521 มูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นตามลำดับอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จากมูลค่าการค้ากับต่างประเทศเพียง 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2523 ได้ขยายตัวเป็น 20,343.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2548 การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในแง่มูลค่าการค้าเท่านั้น แต่รวมถึงองค์ประกอบของสินค้าออกและสินค้านำเข้าด้วย กล่าวคือ ก่อนปี 2522 สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ของจีนเป็นสินค้าขั้นปฐม (primary product) ซึ่งได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติและผลผลิตการเกษตร เมื่อระยะเวลาผ่านไป สัดส่วนของสินค้าอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้นมากขึ้นตามลำดับ โดยในปี 2543 เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 89.8 ของสินค้าส่งออกทั้งหมด
สถิติการค้าจากศุลกากรจีน (ปี 2550)
การ ค้ากับต่างประเทศในปี 2550 มีมูลค่า 2,173.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในจำนวนนี้ เป็นมูลค่าการส่งออก 1,218.01 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 จากปี 2549 และมูลค่าการนำเข้า 955.82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 จากปี 2549
สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร เครื่องใช้ไฟฟ้า
เครื่องนุ่งห่ม
สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า น้ำมัน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ประเทศ/เขตเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน เยอรมันนี
รัสเซีย EU อาเซียน (ไทยเป็นอันดับที่ 14)
ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เยอรมันนี ตามลำดับ
ตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สหรัฐฯ เยอรมันนี ตามลำดับ
ตลาดสำคัญที่จีนได้ดุลการค้า คือ สหรัฐฯ ฮ่องกง เยอรมันนี สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร อินเดีย ฝรั่งเศส
ตลาดสำคัญที่จีนขาดดุลการค้า คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน รัสเซีย มาเลเซีย ออสเตรเลีย ไทย
นับ แต่จีนเริ่มใช้นโยบายเปิดประเทศเมื่อปี 2521 มูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นตามลำดับอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จากมูลค่าการค้ากับต่างประเทศเพียง 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2523 ได้ขยายตัวเป็น 20,343.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2548 การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในแง่มูลค่าการค้าเท่านั้น แต่รวมถึงองค์ประกอบของสินค้าออกและสินค้านำเข้าด้วย กล่าวคือ ก่อนปี 2522 สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ของจีนเป็นสินค้าขั้นปฐม (primary product) ซึ่งได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติและผลผลิตการเกษตร เมื่อระยะเวลาผ่านไป สัดส่วนของสินค้าอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้นมากขึ้นตามลำดับ โดยในปี 2543 เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 89.8 ของสินค้าส่งออกทั้งหมด
สถิติการค้าจากศุลกากรจีน (ปี 2550)
การ ค้ากับต่างประเทศในปี 2550 มีมูลค่า 2,173.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในจำนวนนี้ เป็นมูลค่าการส่งออก 1,218.01 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 จากปี 2549 และมูลค่าการนำเข้า 955.82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 จากปี 2549
สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร เครื่องใช้ไฟฟ้า
เครื่องนุ่งห่ม
สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า น้ำมัน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ประเทศ/เขตเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน เยอรมันนี
รัสเซีย EU อาเซียน (ไทยเป็นอันดับที่ 14)
ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เยอรมันนี ตามลำดับ
ตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สหรัฐฯ เยอรมันนี ตามลำดับ
ตลาดสำคัญที่จีนได้ดุลการค้า คือ สหรัฐฯ ฮ่องกง เยอรมันนี สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร อินเดีย ฝรั่งเศส
ตลาดสำคัญที่จีนขาดดุลการค้า คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน รัสเซีย มาเลเซีย ออสเตรเลีย ไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น